การตรวจ-รักษา หากยังเป็นในระยะแรกๆ ก็อาจมีโอกาสหายได้ด้วยการกินยาและปฏิบัติตัวตามที่คุณหมอแนะนำ เว้นแต่ในบางรายที่ “ก้อนนิ่ว” อาจมีขนาดโตเกินกว่าจะรักษาได้ด้วยการกินยา หรือมีก้อนนิ่วหลายก้อนกระจายไปตามบริเวณท่อและถุงน้ำดี ทำให้แพทย์ต้องเลือกรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุด...แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่รู้ว่าจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดก็มักจะเกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เคยรู้เคยได้ยินจากเพื่อนหรือญาติสนิทที่ผ่านประสบการณ์ผ่าตัดมาก่อนแล้วว่า ที่ผ่านมานั้นคุณหมอผ่าตัดจะต้องทำการกรีดแผลที่หน้าท้องของผู้ป่วย ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการเสียเลือด-ให้เลือดจนกว่าจะผ่าตัดกำจัด “นิ่วในถุงน้ำดี” เป็นที่เรียบร้อย จึงส่งผลให้ผู้ป่วยต้องใช้เวลาพักฟื้นหลายวันโดยต้องทนความเจ็บปวดแผลภายในช่องท้องและที่ผิวหน้าท้องอย่างหนีไม่พ้น ซึ่งผิดกับวิธีการผ่าตัดกำจัดนิ่วในถุงน้ำดีที่มีการนำมาใช้ “รพ.เชียงใหม่ ราม” โดย “คุณหมอไตรจักร” ได้กล่าวถึงกระบวน กระบวนการตรวจ-วินิจฉัย ตลอดทั้ง “การผ่าตัดรักษา” ด้วยเทคโนโลยีก้าวหน้าประกอบกันดังนี้
“...เราสามารถตรวจอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยได้โดยละเอียดด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยนิ่วในถุงน้ำดี โดยทำการอัลตราซาวนด์ช่องท้อง ซึ่งเป็นการตรวจวินิจด้วยคลื่นความถี่สูงที่ได้รับการคิดค้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการตรวจอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่มีความละเอียดและสามารถค้นหาข้อบ่งชี้ของโรคได้อย่างแม่นยำ ทำให้นำไปสู่การวางแผนการรักษาต่อได้อย่างรวดเร็วต่อไป ซึ่งในรายผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดก็สามารถใช้เทคโนโลยีการแพทย์ที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถหายได้ด้วย การผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา มีความปลอดภัย แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยและสามารถกลับคืนสู่การใช้ชีวิตตามปกติหลังผ่าตัดในระยะเวลารวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบมาตรฐานดั้งเดิมที่ใช้กันมาตลอดถึงปัจจุบัน และยังนำมาใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอักเสบมากหรือถุงน้ำดี
เทคโนโลยี เทคโนโลยีผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือ Advanced Minimal Invasive Surgery
กล้องวีดิโอขนาดจิ๋วแบบ 4K หรือ HD มีความคมชัดสูง ช่วยให้แพทย์มองเห็นภาพถุงน้ำดี ท่อน้ำดี และอวัยวะต่าง ๆ ได้ชัดเจนกว่าการมองด้วยตาเปล่า โดยแพทย์จะทำการเจาะรูเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร รวม 3 จุด และเจาะรูขนาด 1 เซ็นติเมตรที่หน้าท้องบริเวณสะดืออีก 1 จุด เพื่อสอดอุปกรณ์กล้องและเครื่องมือผ่านเข้าไปจับภาพอวัยวะภายในที่เป็นเป้าหมายของการผ่าตัดและส่งภาพมาปรากฏที่จอรับภาพให้ศัลยแพทย์มองเห็นอวัยวะภายในที่เป็นเป้าหมายของการผ่าตัดรวมทั้งถุงน้ำดีได้อย่างแจ่มชัดผ่านจอภาพ สามารถทำการเลาะถุงน้ำดีออกจากตับและนำใส่ถุงที่ออกแบบเป็นพิเศษก่อนนำออกมาทางรูที่เจาะไว้บริเวณสะดือ
โดยแพทย์จะใช้คลิปหนีบห้ามเลือดแทนไหมเย็บแผล และหลังจากตรวจทุกขั้นตอนว่าเรียบร้อยดีแล้วจึงจะนำอุปกรณ์ทุกอย่างออกมาและเย็บปิดแผลที่หน้าท้องซึ่งโดยรวมแล้วจะใช้ระยะเวลาผ่าตัดไม่นาน ซึ่งหลังการผ่าตัดที่เกิดแผลขนาดเล็กจะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บน้อย ลดโอกาสการติดเชื้อ สามารถฟื้นตัวได้ไวหลังการผ่าตัดแล้วเสร็จโดยจะเหลือไว้เพียงรอยเล็ก ๆ บนหน้าท้อง พักฟื้นที่โรงพยาบาลราว 2 วันก็สามารถอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน และอีกประมาณ 1 สัปดาห์ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
อาการ ของโรคนิ่วในถุงน้ำดี มักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่ที่ทราบว่าเป็นก็เมื่อมาตรวจสุขภาพ หรือพบแพทย์ด้วยปัญหาสุขภาพอื่น แต่ในกลุ่มที่มีอาการแสดงมัก มี อาการปวดท้องหลังทานอาหารประมาณครึ่งถึง 1 ชั่วโมง โดยมีอาการจุกเสียด แน่นท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวาถึงลิ้นปี่ ปวดท้องรุนแรงโดยเฉพาะช่วงท้องส่วนบนหรือด้านขวา อาจจะปวดต่อเนื่อง ตั้งแต่ 15 นาที ยาวถึง 4 ชั่วโมง และอาจจะมีอาการปวดร้าวไปบริเวณกระดูกสะบักหรือบริเวณไหล่ด้านขวา อาเจียน คลื่นไส้ หรือมีอาการทางระบบทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่ยอดอก มีลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหารมัน บางครั้งอาจมีอาการปวดรุนแรงจนผู้ป่วยทนไม่ไหวต้องไปโรงพยาบาลเพื่อฉีดยาแก้ปวด บางรายหากมีอาการของถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน จะทำให้มีไข้ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้ม
การป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี สามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ดูแลเรื่องอาหารการกินในชีวิตประจำวัน เน้นการรับประทานผักผลไม้ ลดอาหารที่มีไขมัน หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายที่อาจเกิดขึ้น หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจทำให้อาการร้ายแรงมากขึ้นและเป็นอันตราย และควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อสังเกตความผิดปกติของร่างกายที่อาจเกิดขึ้น
ติดต่อสอบถามข้อมูลบเพิ่มเติมได้ที่
แผนกศัลยกรรม โทร 053 920 300 ต่อ1100