สาเหตุจาก พฤติกรรมและกิจวัตรประจำวันของชาวออฟฟิศที่มักนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิม ๆ จนทำให้เกิดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตามมาด้วยอาการปวดตามบริเวณต่าง ๆ โดยรอบต้นคอ หรือจุดใกล้เคียงอื่น ๆ โดยอาจมีจุดปวดตึงที่กดแล้วเจ็บ รวมทั้งมีภาวะมึนเวียนศีรษะ หรือเหน็บชา หลาย ๆ คนคิดว่าเป็นเรื่องปกติทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว
“นพ. กฤตเมธ เดชเกรียงไกรกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม” มาให้ข้อมูลความรู้สำหรับนำไปหาทางบำบัดรักษาได้อย่างถูกวิธีและสามารถคืนสู่การใช้ชีวิตตามปกติโดยไม่ปล่อยให้โรคนี้มารังควานความสุขในที่สุด ซึ่ง “คุณหมอกฤตเมธ” ให้ข้อมูลว่า
“...สาเหตุของโรคนี้มีหลายอย่าง แต่...หลัก ๆ แล้วสิ่งที่ทำให้เหล่ามนุษย์เงินเดือนต้องเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมก็เพราะวุ่นอยู่กับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ขยับร่างกาย หรือแช่อยู่ในท่าที่เหมาะสม เช่น นั่งพิมพ์คอมพิวเตอร์ในท่าเดิมตลอดทั้งวัน จนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ เกิดการอักเสบ รวมไปถึงอุปกรณ์ในที่ทำงานไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกาย เช่น โต๊ะคอมพิวเตอร์สูงหรือต่ำไป ทำให้หน้าจอไม่ได้อยู่ในระดับสายตา จึงทำให้เกิดท่าทางที่ไม่เหมาะสม รวมถึงความเครียดจากการทำงานซึ่งถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มักส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกอย่างคือที่นอนไม่ได้มาตรฐานจึงทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นเดียวกัน อันจะส่งผลให้เกิดอาการซึ่งใช่ว่าจะมีเพียงปวดตามกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การปวดกล้ามเนื้อเป็นวงกว้าง โดยไม่สามารถระบุบริเวณที่ปวดได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงมีอาการ มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ มักจะเกิดจากการออกแรงที่นิ้วมือมากจนเกินไป การปวดตึงที่ขาหรือมีอาการเหน็บชาก็เป็นอาการที่เกิดจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน เนื่องจากมักเกิดจากการนั่งนาน ๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ บางรายอาจมีอาการตาแห้ง ตาพร่ามัว เกิดจากการใช้สายตามากจนเกินไป ปวดศีรษะเรื้อรังซึ่งมักจะมาจากความเครียด การใช้สายตาจ้องจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มากจนเกินไป หรืออาจจะมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคออฟฟิศซินโดรมที่คุณคาดไม่ถึงอยู่ก็เป็นได้นะครับ..."
วิธีรักษา กลุ่มอาการออฟฟิศชินโดรม
- การรักษาด้วยยา
- การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อ
- ออกกำลังกายเพื่อรักษาการปวดหลัง เพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
โรงพยาบาลเชียงใหม่ รามได้นำ คลื่นไฟฟ้าความถี่วิทยุ TECAR นี้เข้ามาช่วยบำบัดรักษาอาการปวดให้กับผู้ป่วยด้วยโรคออฟฟิศซินโดรมโดยที่เครื่องนี้จะกลไกการปล่อยความร้อนอันมีจุดกำเนิดจากคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงเทียบเท่าความถี่วิทยุ ซึ่งสามารถส่งความร้อนลงลึกไปถึงเนื้อเยื่อของร่างกาย สร้างความร้อนภายในเซลล์มาช่วยกระตุ้นเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง ลดอาการปวด รักษาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ โดยสามารถนำมาใช่ได้ทั้งในระยะอักเสบเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง...ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ TECAR แล้วจะช่วยเพิ่มคุณภาพของการทำงานและชีวิตประจำวันดีขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยแก้ไขอาการปวด หรืออักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อในระยะยาว ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บให้กลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไม่เกิดอาการเจ็บปวดมากขึ้น หรือเกิดการอักเสบระบมดังเช่นการนวดทั่วไป...
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกโรคเฉพาะทาง โทร 053-920300 ต่อ 4000