สัญญาณเตือนของคนที่เป็นโรคหัวใจ
February 04 / 2025

สัญญาณเตือนคนที่เป็นโรคหัวใจ

 

คุณเคยรู้สึกเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือหายใจไม่ทั่วท้องไหม? อาการเหล่านี้ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยที่บางทีคิดว่าสักพักนึงเดี๋ยวก็หายแล้วและใช้ชีวิตต่อไปโดยไม่คิดอะไร แต่จริง ๆ แล้วมันอาจเป็นสัญญาณเตือนจากหัวใจของคุณที่กำลังจะเกิดโรคหัวใจอยู่

 

ความน่ากลัวของโรคหัวใจคือคือหลายคนไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นโรคนี้อยู่เพราะสัญญาณมักจะมาในรูปแบบเป็นๆ หายๆ จนคิดว่าสุขภาพตัวเองไม่ได้เป็นอะไรมากนักเลยมองข้ามไปในบทความนี้ เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับสัญญาณเตือนของคนที่เป็นโรคหัวใจ พร้อมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการโรคหัวใจกำเริบ

 

สัญญาณเตือนของคนที่เป็นโรคหัวใจ

  1. เจ็บแน่นหน้าอก

 

อาการเจ็บแน่นหน้าอกที่เหมือนรู้สึกมีอะไรมากดทับ บางทีอาจรู้สึกปวดร้าวไปยังแขน ซี่โครง หรือ บริเวณกราม ไกล่ หรือ ลิ้นปี่

 

  1. รู้สึกหายใจเหนื่อย หายใจลำบาก

 

หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากเป็นสัญญาณสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากอาจเกิดจากหัวใจที่ทำงานผิดปกติ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่พอใช้ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตอนที่กำลังออกแรง เช่น เดินขึ้นบันได หรือแม้แต่เกิดขึ้นได้ตอนที่ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ  

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณมีอาการหายใจลำบากในขณะกำลังนอน เช่น รู้สึกอึดอัดจนต้องลุกขึ้นนั่งเพื่อหายใจ หรือไม่สามารถนอนราบได้เพราะรู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาโรคหัวใจ

 

  1. เหนื่อยง่ายผิดปกติ

 

หากคุณรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติแม้ว่าจะไม่ได้ออกแรงมาก เช่น เดินขึ้นบันไดเพียงเล็กน้อย หรือ ทำกิจกรรมต่อเนื่องได้ไม่นานจะต้องหยุดพักบ่อยขึ้น นี่อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการเป็นโรคหัวใจ อาการเหนื่อยง่ายในลักษณะนี้มักเกิดจากหัวใจที่ทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

 

  1. เท้าบวม

 

อาการบวมที่ขาหรือบริเวณข้อเท้าอาจเป็นสัญญาณของโรคภาวะหัวใจห้องขวาล้มเหลว เนื่องจากหัวใจห้องขวาทำงานผิดปกติไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงได้อย่างเต็มที่ทำให้เลือดคั่งในหลอดเลือดบริเวณขาและข้อเท้า

 

  1. อาการหน้ามืด เวียนหัว

 

อาการหน้ามืด เวียนหัวอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ เนื่องจากเกิดอาการผิดปกติของการเต้นหัวใจผิดจังหวะส่งผลให้เลือดไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ หรือในบางกรณีอาจหมดสติได้

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลทำให้โรคหัวใจมีความรุนแรง

  1. การสูบบุหรี่

 

สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ในบุหรี่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้หลอดเลือดมีความดันที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดเสื่มสภาพเร็วขึ้นรวมไปถึงกระตุ้นให้เลือดแข็งตัว เกิดลิ่มเลือดรวมไปถึงการเพิ่มไขมันไม่ดี (LDL) สูงขึ้น และลดไขมันดี (HDL) ต่ำลงซึ่งมีความเสี่ยงจะเกิดปริมาณไขมันในหลอดเลือดสูงที่จะเกิดโณคหัวใจและหลอดเลือด

 

  1. ขาดการออกกำลังกาย

 

การขาดการออกกำลังกายเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจได้ เพราะว่าการออกกำลังกายช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายแล้ว ยังจะช่วยเพิ่มการทำงานกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึงเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้เป็นปกติลดความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายช่วยปรับสมดุลระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดให้เป็นปกติ

 

รายละเอียดเพิ่มเติม คำแนะนำการออกกำลังกายฉบับคนเป็นโรคหัวใจ

 

  1. โภชนาการอาหารไม่ดี

การรับประทานอาหารที่โภชนาการไม่ดี ไม่เหมาะกับสุขภาพตัวเองเป็นสาเหตุสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากอาหารที่เราเลือกทานมีผลโดยตรงต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการสะสมปริมาณไขมันในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่โรคหัวใจในระยะยาว ทางที่ดีควรลดอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมันสูง

 

ตารางโภชนาการอาหารที่ควรได้รับแต่ละวัน

 

ตารางโภชนาการอาหารที่ควรได้รับแต่ละวัน

 

ที่มา ศูนย์อนามัยที่ 5

 

หมายเหตุ เลขใน ( ) คือ ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่

 

1,600 กิโลแคลอรี สำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี หญิงวัยทำงานอายุ 25-60 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

2,000 กิโลแคลอรี สำหรับวัยรุ่น หญิง-ชาย อายุ 14-25 ปี ชายวัยทำงานอายุ 25-60 ปี

2,400 กิโลแคลอรี สำหรับหญิง-ชาย ที่ใช้พลังงานมากๆ เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา

 

โรคหัวใจเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต การรับรู้สัญญาณเตือนและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคหัวใจตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เราสามารถดูแลและป้องกันตัวเองไม่ให้เผชิญกับโรคนี้ได้ โดยสัญญาณเตือนที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย เท้าบวมหรืออาการหน้ามืด อาจเป็นสัญญาณที่กำลังบอกว่าเราจะเกิดปัญหาผิดปกติเกี่ยวกับโรคหัวใจ ฉะนั้นทางที่ดีควรหมั่นสังเกตอาการ หรือ รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดและสามารถรักษาได้ทันเวลา

 

โรงพยาบาลเชียงใหม่ รามเป็นศูนย์เฉพาะทางบอลลูนหลอดเลือดหัวใจที่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา และ ดูแลวินิจฉัยโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงเท่านี้สามารถใช้บริการตรวจสุขภาพหัวใจที่ครอบคลุมการตรวจหลายรายการ เพื่อทำการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคหัวใจและทำการรักษาได้ทันเวลา