สัญญาณเตือนของโรคอัมพาต ที่ต้องระวัง
January 14 / 2025

อัมพาต

โรคอัมพาตเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความพิการในระยะยาว และหลายครั้งมันมาแบบไม่มีสัญญาณเตือนชัดเจน หากเราไม่สามารถรับรู้อาการเริ่มต้นได้ทันเวลา ผลกระทบอาจรุนแรงถึงขั้นเปลี่ยนแปลงชีวิตได้

ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับสัญญาณเตือนสำคัญของโรคอัมพาตที่ไม่ควรมองข้าม พร้อมทั้งแนะนำวิธีการป้องกั ที่ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดเป็นอัมพาต การใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ร่างกายของคุณในชีวิตประจำวัน อาจเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยหลีกเลี้ยงการเป็นอัมพาตได้

รู้จักโรคอัมพาต Stroke

โรคอัมพาต คืออาการที่ร่างกายสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว การรับรู้ หรือความรู้สึกบางส่วน มักเกิดจากความเสียหายของระบบประสาท หรือการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลันไม่ว่าจะเป็นอาการหลอดเลือดสมองตีบ, แตก, ตัน 

โรคอัมพาตสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายตั้งแต่อาการอ่อนแรงเล็กน้อย มีอาการชา ไปจนถึงการสูญเสียการควบคุมร่างกาย

สัญญาณเตือนของโรคอัมพาต

  1. อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก สังเกตได้จาแขน หรือ ขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงจนไม่มีแรงยกขึ้น
     

  2. พูดไม่ชัด หรือ พูดติดๆขัดๆ สังเกตจากอาการพูดว่ามีความปิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น พูดติดขัด พูดไม่ชัด หรือไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำ
     

  3. มีอาการเวียนศีรษะหรือสูญเสียการทรงตัว รู้สึกเวียนหัวแบบฉับพลัน เดินไม่ตรงหรือมีอาการบ้านหมุน
     

  4. ใบหน้าเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว สังเกตใบหน้ามีอาการเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว

 

หากเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบมาพบแพทย์ภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อการรักษาอาการได้ทันเวลา

**วิธีสังเกตอาการโรคอัมพาตด้วยหลักการ BEFAST**

B (Balance) เวียนหัว เดินเซ ทรงตัวไม่ได้

E (Eyes) ตามัว มองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ซักหนึ่งเฉียบพลัน

F (Face) ใบหน้าเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว

A (Arms) แขนขาอ่อนแรง ยกไม่ขึ้น

S (Speech) พูดไม่ชัดหรือพูดติดขัด

T (Time) หากพบอาการ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจะเกิดเป็นโรคอัมพาต

  1. ความดันโลหิตสูง 

เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดสมองตีบ, แตก, ตันได้ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงผิดปกติตัวเลขการวัดความดันจะอยู่ที่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท (ความดันปกติอยู่ที่ 120/80) 

 

ซึ่งคนที่มาภาวะความดันโลหิตสูงจะไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง
 

  1. โรคเบาหวาน 

 

สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและตันได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 2-3 เท่าเนื่องจากโรคเบาหวานจะทำให้มีปริมาณไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้มีภาวะความดันโลหิตสูง มีผลกับผนังหลอดเลือดทำให้เกิดความเสียหาย อักเสบหรือเสื่อมได้เร็วขึ้นและยังส่งผลให้เกิดภาวะเลือดแข็งตัวเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดสมอง
 

  1. ไขมันในเลือดสูง 

 

คนที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดในสมองนำไปสู่การเกิดโรคอัมพาตได้ เนื่องจาก คนที่มีภาวะระดับไขมันในเลือดสูงหรือระดับไขมันไม่ดี (LDL) สูง ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงจะก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน

 

  1. การสูบบุหรี่

 

สารนิโคตินจากบุหรี่จะส่งผลต่อผนังหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบและเลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้สารนิโคตินยังทำให้ลดการสร้างไขมันดีที่เป็นตัวช่วยลดการเกิดหลอดเลือดตีบ ขณะเดียวกันการสูบบุหรี่จะสร้างคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จะคอยไปแย่งจับออกซิเจนในกระแสเลือด ทำให้หลอดเลือดได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ผนักหลอดเลือดเกิดความเสียหายได้

การป้องกันที่จะทำให้เกิดเป็นโรคอัมพาต

  1. รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อยู่ที่ 120/80 รวมไปถึงการลดอาหารที่มีรสเค็ม และ ออกกำลังกายเป็นประจำ

  2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร  ลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ถือเป็นระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติ

  3. ควบคุมระดับไขมันในเลือดโดยพยายามให้ค่า โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, LDL-C ไขมันไม่ดี ควรอยู่ระหว่าง 100-129 และ HDL –C ไขมันดีควรมีค่า 60

  4. หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารประเภทของของ ของทอด ของมัน

  5. ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

  6. ลดการสูบบุหรี่

  7. หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี

 

การป้องกันโรคอัมพาตเริ่มต้นง่าย ๆ จากการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน โดยใส่ใจทั้งพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพประจำปี การหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพเป็นประจำสามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพาตได้ หากพบว่าคนรอบตัวมีความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาตควรส่งตัวไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

ทางโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม เป็นศูนย์เฉพาะทางในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดบริการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างใกล้ชิดโดยทีมงานแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน


ทางโรงพยาบาลเชียงใหม่ รามได้นำเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) มาใช้ในการรักษาฟิ้นฟูผู้ป่วยจากโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ใช้ระยะเวลาการฟื้นฟูเป็นระยะเวลา 30 นาที - 1 ชั่วโมง ไม่เจ็บ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล