เคล็ดลับดูแลพัฒนาส่วนสูงเด็กให้สมวัย
January 14 / 2025

ส่วนสูงเด็ก

สำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง การเฝ้าดูพัฒนาการของลูกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะ "ส่วนสูง" ซึ่งไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงสุขภาพและการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์

 

แม้ว่าพันธุกรรมจะมีบทบาทสำคัญ แต่การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก เช่น การรับประอาหารที่เหมาะสม การนอนหลับที่เพียงพอ การออกกำลังกาย 

 

บทความนี้จะนำเสนอเคล็ดลับที่นำไปใช้ได้จริง เพื่อช่วยให้เด็กๆ เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมสุขภาพที่แข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของส่วนสูง

  1. กรรมพันธุ์

กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญและถือได้ว่าเป็นตัวกำหนดส่วนสูงของเด็ก หากพ่อแม่ทั้งคู่ตัวสูง เด็กก็มีโอกาสสูงตามพ่อแม่ได้มากเช่นกัน ทางตรงกันข้าม ถ้าพ่อแม่ไม่ได้ตัวสูงเด็กก็มีโอกาสที่จะไม่สูงเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม กรรมพันธุ์ไม่ใช่ตัวกำหนดส่วนสูงไปทั้งหมด เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่สามารถช่วยส่งเสริมให้เด็กเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

  1. โภชนาการ

โภชนาการเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของส่วนสูง เด็กที่ได้รับสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอจะมีโอกาสเติบโตได้อย่างสมวัยและมีสุขภาพที่ดี

2.1 แคลเซียม

แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญที่ส่งเสริมการขยายและการเจริญเติบโตของกระดูกสำหรับเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต แนะนำปริมาณแคลเซียมต่อวันสำหรับเด็กแต่ละวัย

  • เด็ก 6 เดือนแรก: ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 400 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็ก 6 เดือน - 1 ปี: ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 600 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็ก 1-3 ปี : ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 700 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็กวัย 4-8 ปี: ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็กวัย 9-18 ปี: ช่วงนี้เป็นช่วงที่กระดูกเติบโตอย่างรวดเร็ว ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมสูง

  • นม
  • โยเกิร์ต
  • เต้าหู้
  • ตำลึง
  • ผักกระเฉด
  • กุ้งแห้ง
  • ปลาตัวเล็กที่กินทั้งกระดูก เช่น ปลาซาร์ดีน

2.2 โปรตีน

โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก เนื่องจากโปรตีนมีกรดอะมิโนสำคัญที่ช่วยบำรุงการผลิตโกรทฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโตในการเพิ่มส่วนสูงและพัฒนาการของเด็ก ช่วงวัยเด็กโปรตีนที่รับประทานเข้าไปแต่ละวันจะถูกนำมาใช้ในการยืดตัวเพิ่มส่วนสูง และ เพิ่มขนาดร่างกาย 

แนะนำแหล่งโปรตีน

  • นม
  • ไข่
  • เนื้อสัตว์
  • ถั่ว

2.3 วิตามินดี

วิตามินดีจะคอยทำหน้าที่ในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟต เพื่อรักษาสมดุลระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างมวลกระดูก และทำให้เกิดการยืดตัวของกระดูกที่เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เด็กมีร่างกายสูงขึ้น

2.4 สังกะสี (Zinc)

เป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับกระบวนการสร้างมวลกระดูก โดยหน้าที่ของสังกะสีจะทำการช่วยสังเคราะห์โปรตีน เพื่อกระตุ้นการแบ่งเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่ หากร่างกายได้รับปริมาณสังกะสีไม่เพียงพอจะเกิดการชะลอการสร้างเซลล์ใหม่และการเจริญเติบโตของกระดูก

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำต่อวันในคนอายุแต่ละช่วงวัย

  • 0 – 6 เดือน 2 มก.ต่อวัน
  • 7 – 12 เดือน 3 มก.ต่อวัน
  • 1 – 3 ปี 3 มก.ต่อวัน
  • 4 – 8 ปี 5 มก.ต่อวัน
  • 9 – 13 ปี 8 มก.ต่อวัน
  • เด็กผู้ชาย 14 ปีขึ้นไป 11 มก.ต่อวัน
  • เด็กผู้หญิง 14-18 ปี 9 มก.ต่อวัน
  • เด็กผู้หญิง 19 ปีขึ้นไป 8 มก.ต่อวัน
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป 11-12 มก.ต่อวัน
  • ผู้หญิงให้นมบุตร 12-13 มก.ต่อวัน
  1. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสูงของเด็ก สำหรับการออกกำลังกายที่จะช่วยพัฒนาการด้านความสูงได้แก่ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น การวิ่ง กระโดดเชือก เล่นบาส หรือกีฬาที่เป็นการส่งผลให้เกิดแรงกระแทกกระดูกและกล้ามเนื้อไม่ว่าจะเป็น การวิ่ง บาสเก็ตบอล หรือว่ายน้ำ ซึ่งกีฬาเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการยืดกล้ามเนื้อและกระดูดให้สูงขึ้นได้

มาตรฐานส่วนสูงของเด็ก

อายุ

ส่วนสูงเฉลี่ยสำหรับเพศชาย (ซม.)

ส่วนสูงเฉลี่ยสำหรับเพศหญิง (ซม.)

แรกเกิด

48-53

48-52

1 ปี

71-81

70-79

2 ปี

82-92

81-91

3 ปี

89-101

88-99

4 ปี

95-110

94-108

5 ปี

100-117

99-116

6 ปี

105-122

104-121

7 ปี

110-127

109-126

8 ปี

115-132

114-131

9 ปี

120-137

119-136

10 ปี

125-143

124-142

11 ปี

130-150

130-149

12 ปี

135-157

135-156

13 ปี

142-164

141-161

14 ปี

148-170

147-164

15 ปี

155-174

150-166

16 ปี

160-178

151-167

17 ปี

163-180

151-168

18 ปี

164-182

151-169

การพัฒนาส่วนสูงของเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม ควรสังเกตพัฒนาการส่วนของแต่ละช่วงวัยอย่างใกล้ชิดหากพบว่าส่วนสูงของเด็กน้อยต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานควรทำการปรึกษาหมอเด็กเพื่อปรึกษารับคำแนะนำในการเพิ่มพัฒนาการส่วนสูงให้เหมาะสมแต่ละวัย


ติดต่อศูนย์เฉพาะทางเด็กโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม