เลือดคั่งในสมองเกิดจากอะไร อาการและวิธีการรักษา
January 14 / 2025

ภาวะเลือดคั่งในสมอง (Intracerebral hemorrhage/Brain bleeds) คือภาวะที่หลอดเลือดในสมองแตก ส่งผลให้เลือดไหลออกมาสะสมและกดทับเนื้อเยื่อสมอง ทำให้สมองขาดออกซิเจนและสูญเสียความสามารถในการทำงานของสมองในบริเวณนั้น ภาวะนี้ถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและลดความเสียหายต่อสมอง

สาเหตุของภาวะเลือดคั่งในสมอง

1. ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head trauma)

มีปลายปัจจัยที่ทำได้ศีรษะเกิดอาการบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุทางกีฬา การถูกตีด้วยของแข็งที่ศีรษะ หรือการหกล้มศีรษะกระแทกพื้นจนส่งผลเป็นเหตุให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนที่รุนแรง

2. ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

การเป็นโรคความดันโลหิตสูงต่อเนื่องในระยะเวลานาน ทำให้ผนังหลอดเลือดได้รับความเสียหายและทำให้เลือดออกในสมอง

3. เส้นเลือดในสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm)

เส้นเลือดในสมองโป่งพองเกิดจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดสมองที่อ่อนแอ เมื่อเส้นเลือดในสมองโป่งพองมากจากความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดแตก ส่งผลให้เลือดรั่วไหลและสะสมจนเกิดภาวะเลือดคั่งในสมองได้

4. เนื้องอกในสมอง (Brain Tumors)

การเป็นเนื้องอกในสมองอาจทำให้หลอดเลือดในบริเวณนั้นได้รับความเสียหายหรือแตก นอกจากนี้ เนื้องอกในสมองที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอาจกระตุ้นทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งในสมองได้

5. โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กำเนิด หรือโรคสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Arteriovenous Malformation - AVM)

เป็นโรคที่พบได้ยาก เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำในสมองเชื่อมต่อกันผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้ไม่มีเครือข่ายเส้นเลือดฝอยที่ช่วยกระจายแรงดันเลือด ทำให้หลอดเลือดในบริเวณนั้นอ่อนแอและแตกง่าย นำไปสู่เลือดออกและเลือดคั่งในสมอง

6. ลิ่มเลือดอุดตัน (Blood Clots)

หากลิ่มเลือดไปอุดตันเส้นเลือดในมอง อาจส่งผลให้แรงดันในหลอดเลือดเพิ่มสูงจนหลอดเลือดเกิดความเสียหายและรั่วไหลทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งในสมอง

อาการของเลือดคั่งในสมอง

เมื่อเส้นเลือดในสมองแตกหรือฉีกขาดจนเกิดภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งนำไปสู่การสะสมของเลือดในสมอง ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หรือในบางกรณี อาการอาจค่อย ๆ แสดงออกและทรุดหนักลงเมื่อเวลาผ่านไป อาการที่บางชี้ว่าอาจจะเกิดภาวะเลือดคั่งในสมอง

  • ปวดศีรษะรุนแรงทันที

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • เวียนศีรษะ หรือรู้สึกเหมือนโลกหมุน

  • แขนขาอ่อนแรง

  • ร่างกายชาครึ่งซีก

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • การพูดติดขัด หรือ พูดไม่ชัด

  • การมองเห็นผิดปกติ การตอบสนองต่อรูม่านตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน

  • เกิดการสับสน มึนงง

  • สูญเสียการทรงตัวหรือการประสานงานของร่างกาย

  • หมดสติหรือซึมลงอย่างรวดเร็ว

  • อาการชัก หมดสติ หรือไม่มีการตอบสนอง

  • หายใจลำบาก

การวินิจฉัยเลือดคั่งในสมอง

CT Scan

หากผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดสังเกตเห็นอาการที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะเลือดคั่งในสมอง ควรรีบไปพบแพทย์หรือโรงพยาบาลทันทีเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอาการได้ทันเวลา ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะเลือดคั่งในสมอง ก็จะนำไปส่งตรวจโดยการใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายทางการแพทย์จะช่วยระบุสาเหตุและตำแหน่งของความผิดปกติบริเวณสมองได้ เช่น เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน โดยมีวิธีการตรวจหลัก ๆ มีดังนี้

  • CT Scan
    การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างภาพรายละเอียดของสมองและศีรษะ แพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์บริเวณสมอง เพื่อดูภาพที่แสดงความผิดปกติภายในศีรษะ เช่น การบาดเจ็บหรือการสะสมของเลือด ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ออกแม่นยำและชัดเจน

  • MRI Scan
    เทคนิคการใช้คลื่นวิทยุร่วมกับสนามแม่เหล็กแรงสูงในการสร้างภาพโครงสร้างและเนื้อเยื่อในสมองอย่างละเอียด วิธีนี้ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความเสียหายของสมองได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

  • Angiogram
    เป็นการฉายภาพหลอดเลือดด้วยรังสีเอกซเรย์ โดยฉีดสารสีเข้าไปในหลอดเลือดเพื่อดูการไหลเวียนและตรวจหาความผิดปกติ เช่น เส้นเลือดโป่งพองหรือหลอดเลือดผิดปกติที่อาจเป็นต้นเหตุของภาวะเลือดออกในสมอง

  • การตรวจเลือด
    แพทย์อาจเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจหาปัญหาที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ การอักเสบ หรือความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดเลือดคั่งในสมองได้

การป้องกันภาวะเลือดคั่งในสมอง 

1. ควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ

ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของภาวะเลือดคั่งในสมอง การตรวจสุขภาพเป็นประจำและการดูแลรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ โดยการลดอาหารเค็มจัด ลดของมัน ของทอด อกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงภาวะความเครียด

2. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์

เนื่องจากใบบุหรี่มีสารนิโคติน และคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวการทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพ รวมไปถึงส่งผลให้เส้นเลือดในสมองตีบลงเรื่อย ๆ จนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนเริ่มตาย

3. ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น และลดโอกาสการเกิดภาวะหลอดเลือดสมอง ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ที่สำคัญควรพักผ่อนให้เพียงพอ

4. ป้องกันการบาดเจ็บศีรษะ

การป้องกัน พยายามหลีกเลี้ยงอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ หลีกเลี้ยงกิจกรรมที่อาจะเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บตรงศีรษะ

อย่าปล่อยให้อาการเลือดคั่งในสมองทำร้ายร่างกายไปมากกว่านี้ ศูนย์บริการเฉพาะทางโรคระบบประสาทและสมองที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม พร้อมยินดีรักษาผู้ป่วยภาวะเลือดคั่งในสมองโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง