รู้หรือไม่ เด็กแต่ละช่วงวัยควรสูงเท่าไหร่
January 10 / 2025

 

 

 

 

 

ปัญหาลูกเตี้ย เป็นเรื่องที่หลายคนเป็นกังวล เพราะความสูงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความมั่นใจและโอกาสต่างๆ ในชีวิตของลูกน้อย การช่วยให้ลูกสูงขึ้นจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนให้ความสำคัญ ผู้ปกครองควรสังเกตการเติบโตอย่างไคชิด หากพบว่าความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรืออัตราการเจริญเติบโตน้อยกกว่าเกณฑ์ดังกล่าว หรือความสูงของเด็กแตกต่างจากความสูงตามกรรมพันธุ์ของพ่อแม่ หรือสังเกตเห็นว่าเด็กมีสัดส่วนผิดปกติ เช่น แขนขา สั้นกว่าปกติหรือลำตัวสั้นกว่าปกติ ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ เพื่อแก้ไขและรักษาให้เด็กสูงขึ้น

 

 

 

 

อัตราการเจริญเติบโตปกติในเด็ก

  • แรกเกิด ถึง 1 ปี อัตราการเจริญเติบโต 25 ซม./ปี
  • อายุ 1 ถึง 2 ปี อัตราการเจริญเติบโต 12 ซม./ปี
  • อายุ 2 ถึง 4 ปี อัตราการเจริญเติบโต 6-7 ซม./ปี
  • อายุ 4 ถึง ก่อนวัยหนุ่มสาว อัตราการเจริญเติบโต 5-6 ซม./ปี
 

 

 

 

วัยหนุ่มสาว

  • เด็กหญิงมีอัตราการเจริญเติบโต 8-12 ซม./ปี
  • เด็กชายมีอัตราการเจริญเติบโต 10-14 ซม./ปี

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสูงของลูก

  1. พันธุกรรมหรือยีน เด็กที่มีพ่อแม่สูง ลูกมักจะสูง แต่เนื่องจากลูกแต่ละคนได้รับการถ่ายทอดยีนจากพ่อแม้ไม่เหมือนกัน ดังนั้น พ่อแม่เดียวกันมีลูกหลายคน ลูกก็อาจสูงไม่เท่ากัน
  2. ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตในวัยเด็ก คือฮอร์โมนไทรอยด์และฮอร์โมนเจริญเติบโต (Growth Hormone) ซึ่งทำให้มีการขยายตัวของกระดูกเป็นผลให้กระดูกยาวขึ้น
  3. ฮอร์โมนเพศ ในช่วงเข้าวันหนุ่มสาวเด็กจะมีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเพศกระตุ้นการหลั่งเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนการเจริญเติบโตทำให้มีการพัฒนาของกระดูก และเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาว สักระยะหนึ่งแล้ว ฮอร์โมนเพศจะทำให้กระดูกปิด และหยุดการเจริญเติบโต
  4. การรับประทานอาหาร มีส่วนสำคัญมากในการเจริญเติบโตของร่างกายซึ่งรวมถึงกระดูก การขาดพลังงาน โปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ ทำให้การเจริญเติบโตช้า ควรให้ลูกน้อยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ให้สูงสมส่วนตามวัย
  5. การออกกำลังกายที่เหมาะสม ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต แต่การออกกำลังกายในเด็กที่มากและหนักเกินไปจะกดการเจริญเติบโตทำให้ตัวเล็กแกรน
  6. การนอนหลับ การหลับสนิทมีความเกี่ยวข้องกับการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตจึงแนะนำให้เด็กนอนหลับให้เพียงพอเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี
  7.  
 


พัฒนาการของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่อาจมองข้ามได้ เมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาของการเพิ่มส่วนสูงไป การเพิ่มส่วนสูงก็อาจทำได้ยากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ ควรสังเกตการเติบโตอย่างใกล้ชิด หากพบว่าความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรืออัตราการเจริญเติบโตน้อยกกว่าเกณฑ์ดังกล่าว ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ เพื่อแก้ไขและรักษาให้เด็กสูงขึ้น