โรคฝีดาษลิง โรคติดต่อเฝ้าระวัง
August 27 / 2024

 

 


 

 

กรมควบคุมโรค เผยพบผู้ป่วยฝีดาษลิงสงสัยสายพันธุ์ คองโก (Congo Basin clade หรือ clade 1) รายแรกในไทย ส่งผลให้หลายคนกำลังจับตามองและให้ความสนใจอย่างมาก ซึ่งโรคฝีดาษลิง หรือ Monkeypox เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา โดยเชื้อไวรัสนี้แพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่น และสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้

 


 

 

ฝีดาษลิงสามารถติดต่อได้อย่างไร

 

 

  • จากสัตว์สู่คน ติดต่อได้จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง หรือแผลของสัตว์ป่วย หรือการกินสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
  • จากคนสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับแผล หรือสารคัดหลั่งทางเดินหายใจของผู้ป่วย การไอจาม น้ำหนอง ตุ่มหนอง หรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า

 

ระยะฟักตัวอยู่ที่ 5 – 20 วันหากสัมผัสเชื้อมากจะแสดงอาการได้เร็ว แต่หากสัมผัสเชื้อไม่มากอาการแสดงจะอยู่ที่ประมาณ 3 สัปดาห์

 

 

 

อาการที่สังเกตได้ชัดเจนคือ 

 

  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหลัง ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ
  • เจ็บคอ อ่อนเพลีย

 

หลังจากนั้นประมาณ 4 – 5 วันจะมีผื่นจำนวนมากขึ้นบริเวณแขน ขา ลำตัว ใบหน้า โดยลักษณะผื่นช่วงแรกจะเป็นผื่นแดง หรือปื้นนูนแดง จากนั้นจะเป็นตุ่มน้ำใสขนาดใหญ่ ตุ่มหนองที่มีสะเก็ดคลุมแล้วแตกได้

 

 

การป้องกัน

 

  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งต่าง ๆ หากเป็นไปได้ให้เลี่ยงการสัมผัสโดยตรง
  • รับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก
  • ไม่ควรนำสัตว์ป่ามาเลี้ยง
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงการแพร่ระบาด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย หรือสัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรค

 

 

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคฝีดาษลิง แต่จะให้การรักษาตามอาการ การฉีดวัคซีนไข้ทรพิษป้องกันได้ 85 % ส่วนใหญ่หายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในเด็ก (ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค)

 

 

ทั้งนี้ เมื่อเป็นฝีดาษลิงต้อง แยกตัวออกจากบุคคลอื่นทันที
แยกของใช้ ห้ามสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
ที่สำคัญคือห้ามแคะ แกะ เกาผื่นหรือตุ่ม เพื่อป้องกันแผลเป็นที่จะเกิดขึ้น
 

 

สอบถามข้อมมูลเพิ่มเติม โรงพยาบาลเชีนยงใหม่ ราม โทร. 052-0046699