โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม chiangmai ram hospital
ENG
ไทย
ENG
ไทย
Toggle navigation
หน้าแรก
(current)
ข่าวสาร
(current)
แพทย์
ค้นหาแพทย์
นัดแพทย์
บริการสำหรับผู้ป่วย
มีเดีย
วารสาร
รายการ TV
บทความสุขภาพ
INFOGRAPHIC
การรักษา
ศูนย์เฉพาะทาง
แผนก
เชียงใหม่ ราม เฮลท์ แอปพลิเคชัน
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องพักผู้ป่วยใน
บริการอื่นๆ
แพ็กเกจ
แพ็คเกจและโปรโมชั่น
แพ็คเกจคลอด
บริการซื้อแพ็คเกจออนไลน์
เกี่ยวกับเรา
(current)
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
สมัครงาน
Customer Concerns
ค้นหาแพทย์
นัดแพทย์
มีเดีย
วารสาร
รายการ TV
บทความสุขภาพ
INFOGRAPHIC
การรักษา
ศูนย์เฉพาะทาง
แผนก
เชียงใหม่ ราม เฮลท์ แอปพลิเคชัน
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องพักผู้ป่วยใน
บริการอื่นๆ
แพ็คเกจและโปรโมชั่น
แพ็คเกจคลอด
บริการซื้อแพ็คเกจออนไลน์
ติดต่อเรา
สมัครงาน
Customer Concerns
หน้าแรก
มีเดีย
บทความสุขภาพ
“ท้องผูก...ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย”
“ท้องผูก...ภัยใกล้ตัวของผู้สูงวัย”
November 15 / 2023
ปัญหาท้องผูกของผู้สูงอายุอาจไม่เพียงแค่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายเท่านั้น แต่มันยังเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของสุขภาพอย่างมาก เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีระบบการเผาผลาญที่ช้าลง ระบบการย่อยอาหารจะมีปัญหาทำให้เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายยาก ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆตามมาได้ ดังนั้นเราจึงควรทราบการป้องกันและระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการท้องผูกในผู้สูงอายุไว้ให้ดีที่สุด
ท้องผูกเกิดได้อย่างไร :
อาการท้องผูก เกิดขึ้นเมื่อระบบย่อยอาหารของร่างกายไม่ทำงานอย่างปกติ ทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง และอาหารไม่ถูกขับออกจากลำไส้ตลอดเวลาที่ควร ที่ส่งผลให้คุณรู้สึกอิ่ม ทานอาหารน้อยลง มีอาการท้องอืด ถ้าคนที่มากอายุประสบปัญหาท้องผูกอย่างต่อเนื่อง อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคทางเดินอาหาร เช่น ริดสีดวง โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งทางเดินอาหารได้
สาเหตุของอาการท้องผูกในผู้สูงอายุ :
1. การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน
การเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกายจากอายุที่มากขึ้น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มต่อท้องผูก เช่น การลดการผลิตฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องอืด และ ท้องผูกตามมา
2. ระบบย่อยอาหารช้าลง
เมื่ออายุมากขึ้น สารเคมีที่ช่วยในกระบวนการย่อยอาหารในลำไส้อาจลดลงในผู้สูงอายุ ทำให้อาหารไม่ย่อยอาหารเข้าสู่เลือดอย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งอาการท้องผูกได้
3. การเดินทางหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่สะดวก
เมื่อแก่ตัวลง การเดินทางหรือการเคลื่อนไหวของร่างกายอาจไม่สามารถทำได้เหมือนเดิม อาจเกิดจากโรคเรื้อรัง หรือความจำเป็นที่ต้องเดินด้วยรถเข็นทำให้การเคลื่อนที่ลดลง ซึ่งจากพฤติกรรมดังกล่าว มีส่วนที่จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารช้าลงได้ หรืออาจมีการกลั้นการอุจจาระทำให้เป็นสาเหตุของอาการท้องผูกได้
4. การรับประทานยา
ยาบางตัวอาจมีผลต่ออาการท้องผูกได้ เช่น ยาต้านเกร็งลำไส้ หรือยาต้านเเพลงทางเดินอาหาร ดังนั้นหากจะมีการใช้ยา จะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง
5. การดื่มน้ำน้อย
น้ำถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ การดื่มน้ำไม่เพียงพออาจทำให้มีผลต่อความสมดุลของร่างกายได้ รวมไปถึงทำให้เกิดอาหารขาดน้ำ และเป็นสาเหตุทำให้ท้องผูกได้
6. การรับประทานอาหารที่ขาดใยอาหาร
อาหารที่มีสารใยอาหารมากจะช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารและการเคลื่อนเกร็งของลำไส้ ดังนั้นหากผู้สูงอายุที่บริโภคอาหารที่ขาดใยอาหาร ย่อมมีโอกาสท้องผูกมากขึ้นนั่นเอง
7. ติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) เป็น
เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหาร เป็นต้นเหตุของอาการปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก และอาจทำให้เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของกระเพาะอาหารได้ในอนาคต จึงควรต้องมีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวด้วย เมื่อพบอาการท้องผูกเกิดขึ้น
การตรวจหาและวินิจฉัยอาการท้องผูก :
1.การตรวจร่างกายอย่างละเอียด และซักถามพฤติกรรม
โดยเป็นการวินิจฉัยเบื้องต้น ซึ่งแพทย์จะ ซักถามประวัติเกี่ยวกับลักษณะการถ่ายอุจจาระ และสาเหตุที่เกี่ยวข้องก่อนทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด หากแพทย์มีข้อสงสัยอาจมีการเจาะเลือดตรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของไทรอยด์ ระดับแคลเซียมของเลือด รวมไปถึงค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
จะช่วยวินิจฉัยอาการท้องผูกที่อาจเกิดจากมะเร็งลำไส้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการน้ำหนักลด ผิดซีด ครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งลำไส้ หรือโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
3.การตรวจการเคลื่อนผ่านของอุจจาระในลำไส้ใหญ่
โดยการกลืนเม็ดยาที่ภายในมีวัสดุทึบแสงแล้ว X-Rayช่องท้องหลังกลืนเม็ดยา 5 วัน โดยหากมีวัสดุทึบแสงหลงเหลืออยู่มากเกินร้อยละ 20 แสดงว่าอุจจาระมีการเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ
4. การใช้เครื่องตรวจการทำงานของทวารหนักและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย
โดยสอดสายเข้าไปในทวารหนักและวัดความดันในลำไส้แปลผลออกมาเป็นข้อมูล เพื่อดูว่ามีการทำงานผิดปกติหรือไม่
5. การทดสอบการเบ่งลูกโป่ง
โดยใช้ลูกโป่งสำหรับการวินิจฉัยต่อกับสายใส่เข้าไปทางทวารหนัก แล้วใส่น้ำเข้าลูกโป่ง 50 มิลลิลิตร เพื่อทดสอบปัญหาในการเบ่งของผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่สามารถเบ่งลูกโป่งออกมาภายใน 3 นาที ก็สามารถตั้งข้อสงสัยได้ว่าผิดปกติ
ท้องผูกมีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างไร :
อาการท้องผูกสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุได้มากกว่าที่คิด รวมถึงเป็นสัญญาณเตือน และ ต้นเหตุของโรคต่างๆด้วย มีอะไรบ้างมาลองดูกัน
1. ภาวะซึมเศร้า
การท้องผูกอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่มากอายุมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากขึ้น เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบประสาทและสารเคมีในสมอง
2. ปัญหาในระบบย่อยอาหาร
อาการท้องผูกสามารถทำให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหา ผู้สูงอายุหลายคนอาจพบปัญหาในการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย นำมาซี่งโรคที่เกิดกับระบบย่อยอาหารได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
3. ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร
อาการท้องผูกอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารได้ เนื่องจากเมื่ออาหารหรือของเสียไม่สามารถขับถ่ายออกมาได้ ทำให้คงค้างอยู่ในร่างกายนานเกินไป อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้
4. ริดสีดวงทวาร
เป็นอาการที่มีสาเหตุจากภาวะท้องผูกเป็นระยะเวลานาน เกิดจากภาวะหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพองและบวม ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บเมื่อขับถ่าย และหากอักเสบจะทำให้เจ็บปวดมากจนไม่สามารถนั่งได้เลยทีเดียว
วิธีการป้องกันท้องผูก :
1. ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ
การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหารและส่งเสริมการเคลื่อนตัวของลำไส้ให้มีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ความเสี่ยงในการเกิดอาการท้องผูกน้อยลง
2. รักษาโภชนาการที่ดี
การบริโภคอาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก และดื่มน้ำให้เพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันท้องผูก เนื่องจากจะสามารถช่วยระบบย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. รักษาน้ำหนักที่เหมาะสม
การควบคุมน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นท้องผูกได้เป็นอย่างดี
4. ระบบภูมิคุ้มกัน
การดูแลระบบภูมิคุ้มกันโดยการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่นวิตามินซี จะสามารถช่วยให้ระบบของร่างกายเกิดความสมดุล ลดอาการท้องผูกได้
การรักษาอาการท้องผูก :
1. การใช้ยา
เราสามารถใช้ยาเพื่อรักษาอาหารท้องผูกได้ในหลายกรณี เช่น ยาช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ , ยาที่มีฤทธิเพิ่มปริมาณอุจจาระ , ยาระบายหรือยากระตุ้นการถ่ายอุจจาระ
2. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทานอาหาร
การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารและผลไม้สด จะช่วยเพิ่มปริมาณไอออนและความอุดมสมบูรณ์ในระบบย่อยอาหารได้
3. ควบคุมความเครียด
ความเครียดสามารถเป็นสาเหตุของท้องผูกได้ ดังนั้นการใช้เทคนิคลดความเครียดอาจช่วยลดอาการท้องผูกลงได้สำหรับผู้สูงอายุด้วย
อาการท้องผูกไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยสำหรับผู้สูงอายุ การรักษาสุขภาพและการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์มีกากใยมาก รวมไปถึงการดื่มน้ำให้เยอะ อาจเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุในการป้องกันปัญหาท้องผูกและระบบย่อยอาหารที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
หากท่านมีข้อสงสัยสามารถขอคำปรึกษาได้จากแพทย์เฉพาะทาง
โรงพยาบาลเชียงใหม่ รามได้ที่ โทร.052-004699