โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่มองไม่เห็น
October 25 / 2023

 

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ มักคิดว่า อาการปวดหลัง ปวดข้อมือ ปวดบ่าไหล่ ปวดหลังร้าวลงขา อาจนึกถึงของโรคออฟฟิศซินโดรมเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้ว อาการเหล่านี้ อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น โรคกระดูพรุน โดยโรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่คนที่เป็นโรคกระดูกพรุน หากเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อยอาจจะทำให้เกิดกระดูกหัก ซึ่งนี่ถือเป็นความอันตรายของโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนคืออะไร? 

คือ โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลงจากการสะสมกระดูกน้อยเกินไปในขณะที่กำลังเจริญเติบโต  หรือมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างมากหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่แล้วทำให้กระดูกเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนัก และแตกหักตามมาอาจเกิดมาจาก 2 ปัจจัย คือ  พันธุกรรมและการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น  โดยปกติมักพบมากในเพศหญิง แต่เพศชายสามารถพบได้  20 เปอร์เซ็นต์ โรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ  แต่ก็สามารถพบได้ในวัยหนุ่มสาว  โรคกระดูกพรุนเป็นลักษณะบ่งบอกถึงความชรา พบมากในหญิงสูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสเป็นโรคนี้ก็มากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อกระดูกบางถึงระดับที่ไม่สามารถรับน้ำหนัก หรือแรงกระแทกได้ก็จะเกิดกระดูกหัก  ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในขณะทำกิจวัตรประจำวันตามธรรมดาหรือเกิดขึ้นเมื่อได้รับอุบัติเหตุหกล้ม  แม้ว่าอุบัติเหตุนั้นจะดูเล็กน้อยก็ตาม กระดูกที่มักจะหัก ได้แก่ กระดูกต้นขา  และกระดูกข้อมือ

 

 

 

 ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

 - หญิงวัยหมดประจำเดือน : จะพบว่ามีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียเนื้อกระดูกมากขึ้น 10% ภายใน 5 ปีแรกที่หมดประจำเดือน
-  อายุ 40 ปี : ร่างกายจะมีการสูญเสียเนื้อกระดูกไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ทั้งในชายและหญิงประมาณ 0.5 – 1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี 
-  อายุ 50 ปี : ในคนเอเชียพบว่าจะมีการสูญเสียเนื้อกระดูกเพิ่มมากขึ้นเป็น 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี หลังจากช่วงนี้แล้วอัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกจะลดลงเข้าสู่แบบเดิมคือ ประมาณ 0.5 – 1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

- ผู้ที่มีประวัติทำงานออฟฟิศทั้งวัน ไม่โดนแดดประจำ

- ผู้ที่มีโรคที่ทำให้กระดูกบางลง เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ, โรคทางลำไส้ดูดซึมอาหารไม่ดี (ควรตรวจช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือช่วงจะหมดประจำเดือน ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดเวลาด้วย)

- ผู้ที่จะต้องรับยาที่ทำให้มีการสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าปกติ เพื่อช่วยในการรักษาโรคต่างๆ ( ถ้าได้รับยาสเตียรอยด์ปริมาณมากเพื่อควบคุมโรค ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อพิจารณาเวลาที่เหมาะสมในการติดตามดูปริมาณเนื้อกระดูก เพราะผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับยาในปริมาณที่แตกต่างกัน )

- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้างในช่วงก่อนหมดประจำเดือน จะเกิดการสูญเสียเนื้อกระดูกในลักษณะดังกล่าวในช่วงหลังการผ่าตัด (ควรตรวจหลังจากการทำผ่าตัดแล้วติดตามอีก 1-2 ครั้ง ภายในช่วง 5 ปีแรกหลังการผ่าตัด )

- การทานโซเดียมหรือเกลือมากเกินไป  ร่างกายจะต้องขับเกลือส่วนเกินออกทางปัสสาวะ และจะขับแคลเซียมออกมาด้วย ทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมไปทางปัสสาวะมากขึ้น

- แอลกอฮอล์ บุหรี่และกาแฟ  จะลดการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารเข้าสู่ร่างกาย ทำให้การเนื้อกระดูกไม่มีประสิทธิภาพ

- ลักษณะการดำเนินชีวิต ( Lifestyle ) การทำงานออกแรง และการออกกำลังกายจะทำให้เกิดแรงกดที่กระดูก ซึ่งจะทำให้ร่างกายเสริมกระดูกให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น

 

สาเหตุการเกิดโรคกระดูกพรุน 

1.พันธุกรรม พบว่าชาวผิวขาวมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าชนผิวดำ ( นิโกร ) ส่วนชาวเอเชีย ( รวมทั้งคนไทย ) เป็นพวกเผ่ามองโกลอย จะเก็บสะสมเนื้อกระดูกได้มากกว่าชาวผิวขาวแต่น้อยกว่าชาวผิวดำ

2.ปริมาณแคลเซียมที่ได้รับและเก็บสะสมไว้ในขณะนั้น ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมของแต่ละช่วงอายุก็จะแตกต่างกันออกไปหากได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอในแต่ละวัย ก็เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากขึ้น

3.สารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างเนื้อกระดูก 

         3.1 โปรตีน  ปริมาณอาหารโปรตีนที่รับประทานจะต้องสมดุลกับปริมาณแคลเซียมด้วย  มีรายงานหลายฉบับชี้ให้เห็นว่า การบริโภค      โปรตีนที่มากเกินไป  จะทำให้มีการสูญเสียแคลเซียม ออกมาทางปัสสาวะในปริมาณที่มากกว่าที่พบในกลุ่มที่บริโภคโปรตีนต่ำกว่า

        3.2 ฟลูออไรด์ แมกนีเซียม และโปรแตสเซียม  เหล่านี้เป็นสารที่พบปริมาณน้อย  แต่มีความจำเป็นในการสร้างกระดูก

        3.3 ฮอร์โมนเพศ เพศหญิงจะเห็นได้ชัดเจนในช่วง  5 ปีแรกของการหมดประจำเดือน ซึ่งในช่วงนั้นสุขภาพสตรีทุกคนจะมีการสูณเสียเนื้อกระดูกอย่างรวดเร็ว  (3-5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี )  ถ้าคูณตัวเลขเหล่านี้จะเห็นว่าสูงถึง 15-25 เปอร์เซ็นต์  ของกระดูกในร่างกาย สำหรับเพศชายนั้นไม่มีช่วงที่สูญเสียเนื้อกระดูกมากๆ  อย่างในหญิงวัยหมดประจำเดือน  ยกเว้นว่ามีความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนเพศชายจะทำให้เนื้อกระดูกบางกว่าปกติ

 

 

การตรวจโรคกระดูกพรุน  

1. การตรวจมวลกระดูก แพทย์จะทำการตรวจด้วยเครื่องตรวจมวลกระดูกหรือที่เรียกว่า Advance Bone Mineral Density (BMD) แล้วนำค่าที่ได้มาคำนวณตามค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากร หากมวลกระดูกของเราอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าเฉลี่ย ก็จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนได้

2. วิธีการคำนวณความเสี่ยงในการที่จะเกิดกระดูกหัก ที่เรียกว่า "การคำนวณ FRAX score" โดยจะมีการซักประวัติคร่าว ๆ เช่น เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย และโรคประจำตัว รวมถึงประวัติครอบครัว แล้วนำมาคำนวณหาความเสี่ยงที่จะเกิด กระดูกหัก ในระยะ 10 ปีข้างหน้า 

นายแพทย์ทศพร วิทยาคม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ กล่าวเพิ่มเติมว่า " การตรวจวัดมวลกระดูกด้วย Advance Bone Mineral Density (BMD) เป็นเครื่อง GE LUNAR  ที่ได้การรองรับ มาตรฐานโลก ใช้ตรวจกระดูกสันกลัง ในท่านอนเหยียดขาได้  ซึ่งเครื่อง Advance Bone Mineral Density (BMD) สามารถทำการตรวจวัดมวลกระดูกได้อย่างละเอียด และตรวจได้หลายจุด ไม่ว่าจะเป็น กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ ทั้งซ้ายขวา   กระดูกเชิงกราน เป็นต้น โดยเครื่อง Advance Bone Mineral Density (BMD) ใช้พลังงานเพียง 2 ระดับ  (Dual enrergy) ทำให้วัดได้ว่า เนื้อเยื่อมีความหนาแน่นเท่าไหร่ และแยกชนิดของเนื้อเยื่อได้ ปัจจุบันการตรวจวัดมวลกระดูกด้วยเทคโนโลยี Advance BMD ถือว่าเป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวด ใช้ตรวจกระดูกได้ทุกส่วน ดังนี้ 

1. การประเมินความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก จากภาวะกระดูกพรุนของผู้ป่วยในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า 2. ตรวจดูแนวกระดูกหลัง ว่ามีการหัก การยุบตัวหรือไม่ 3. ตรวจการสูญเสียมวลของกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้ื้อ 4. การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก และโครงสร้าง หรือคุณภาพภายในกระดูกบริเวณไขสันหลังและสะโพก "

 

 

 

" โรคกระดูกพรุน เป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นสะสมในร่างกายมานาน

โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ เพราะไม่มีอาการแต่อย่างใด

จนกว่าจะเกิดอุบัติเหตุกระดูกหัก

จึงทำให้คนจำนวนมากไม่ทราบว่า สภาวะกระดูกของตนเองนั้น

บางไปมากน้อยเพียงใดแล้ว "

 

 

 

สอบถามข้อมูลได้ที่

แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม

โทร 052 004 699