ปัญหาจากฝุ่นพิษไปสู่ “โรคตาเขในเด็ก”
May 30 / 2023

 

ปัญหา “หมอกควันพิษ” กับ “ฝุ่น PM 2.5”  ไปแล้ว เพราะมันทำเอาชาวเชียงใหม่และใครที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียงซึ่งได้เผชิญฤทธิ์พิษภัยเรื่อยหลายเดือนแล้ว นอกจากจะไม่ลดแล้วค่าฝุ่น PM 2.5 ยังพุ่งสูงอย่างไม่หยุดยั้งและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของใคร ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กเล็ก ด้วยความที่ฝุ่นเจ้าปัญหามีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่าจึงสามารถสูดเข้าร่างกายได้โดยตรงทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่ต่างก็จำเป็นต้องหาทางให้ลูก ๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กเลี่ยงการใช้ชีวิตในที่โล่งและให้หันมาใช้เวลาทำกิจกรรมหรืออยู่แต่ในบ้านแทน ซึ่งจริง ๆ แล้วถือว่าเหมาะสมและปลอดภัยกว่า แต่นั่นก็อาจเข้าข่ายว่าเป็นการ “หนีเสือปะจะเข้” เพราะในเมื่อเด็ก ๆ ไม่สามารถออกมาโลดแล่นนอกบ้านหรือไปทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ก็ย่อมหันมาพึ่งพาอาศัยอุปกรณ์ที่ให้ความเพลิดเพลินเจริญใจอื่น ๆ มาทดแทน ซึ่งทุกวันนี้มีอุปกรณ์ที่เป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมากมายทั้งคอมพิวเตอร์ แทปเลต โน๊ตบุ๊ค และ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งล้วนมีส่งผลกระทบต่อดวงตาของเด็ก ๆ ได้ไม่น้อย กลายเป็นอีกปัญหาที่พ่อแม่ต้องแก้ไขหาวิธีรักษาไม่รู้จักหยุดหย่อนเพื่อป้องกันลูกน้อยให้อยู่รอดปลอดภัยและพ้นจากปัญหาอันจะเกิดกับดวงตา-การมองเห็น ไปจนถึงระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าลูกน้อยจะใช้ชีวิตอยู่ในเคหะสถานหรือในที่โล่งแจ้งก็ไม่มีเว้น...

 

อันตรายของ “ฝุ่น PM 2.5” ซึ่งใช่ว่าจะมีแค่การแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายไปทำลายระบบต่าง ๆ ได้อย่างเหลือเชื่อเท่านั้น เพราะมันยังเป็นอันตรายต่อดวงตาของเด็กโดยเฉพาะในรายที่ดวงตามีความผิดปกติอยู่แล้ว เช่น เป็นภูมิแพ้ หรือภูมิแพ้ขึ้นตาก็อาจมีการระคายเคือง คันตา ตาแห้ง หรือรุนแรงถึงขั้นเยื่อบุตาอักเสบ กระจกตาอักเสบจากการสัมผัสฝุ่นละอองดังกล่าว ซึ่งกรณีนี้ พญ.กรกมล เสริฐสม...แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเด็กและตาเข รพ.เชียงใหม่ ราม” อธิบายว่า  

                         “....อาการผิดปกติที่ว่าเหล่านี้มักเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ยกเว้นเด็กที่มีความผิดปกติกับดวงตา เช่น มีประวัติเดิมเป็นภูมิแพ้ ภูมิแพ้ขึ้นตา อาจทำให้มีอาการเคืองตาหรือตาแดงมากกว่าปกติ โดยจะมีการระคายเคืองเล็กน้อยจนถึงระคายเคืองมาก รู้สึกไม่สบายตาเรื้อรัง เช่น เคืองตา คันตา รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา ตาแห้ง เด็กอาจจะขยี้ตาบ่อยๆ กระพริบตาหรือขยิบตาถี่ ๆ ตาแดงเป็น ๆ หาย ๆ หรือรุนแรงถึงขั้นเยื่อบุตาอักเสบ เปลือกตาอักเสบเรื้อรัง กระจกตาอักเสบ และกระจกตาถูกทำลายในระยะยาวซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่เกิดจากการสัมผัสฝุ่นมลภาวะอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่วนภาวะตาแห้ง ถ้าเป็นในระยะเวลาต่อเนื่องนาน ๆ อาจทำให้เกิดการทำลายกระจกตาได้เช่นกัน และส่งผลต่อการมองเห็นในระยะยาว เช่น ตาพร่ามัวลง สายตาผิดปกติ  เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหากเด็กได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 อาจจะทำให้ส่งผลเสียต่อดวงตาของเด็กในระยะยาว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแลใส่ใจในสุขภาพดวงตาของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด โดยที่การดูแลสุขภาพตาของเด็กจะมีช่วงเวลาเฉพาะที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ นั่นคือช่วงก่อนที่เด็กจะอายุ 7-8 ปี ซึ่งแพทย์ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างเปราะบาง และถ้าเด็กเป็นโรคที่ขัดขวางพัฒนาการของสายตาเกิดขึ้นก็จะต้องรีบรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งเมื่อเราตรวจพบเจอความผิดปกติแล้วรีบรักษาจะเป็นโอกาสให้สายตาของเด็กสามารถกลับมาใช้งานเป็นปกติได้ก่อนวัยที่เด็กจะเข้าเรียน เนื่องจากพัฒนาการการมองเห็นในเด็กจะมีตั้งแต่แรกคลอดไปจนถึงอายุใกล้ 10 ปี ซึ่งหากได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ต้นก่อนเด็กจะอายุมากกว่า 7-8 ปี การรักษาก็จะได้ผลดีกว่าเด็กที่โตแล้ว เพราะเมื่อสายตาอยู่ในช่วงอายุที่หยุดพัฒนาแล้ว โอกาสที่จะแก้ไขให้กลับคืนมาเป็นปกติเหมือนเดิมได้นั้น ผลการรักษาอาจไม่แน่นอนค่ะ...”

 

 

เด็กตาเข… ไม่หายเอง!!ความผิดปกติทางสายตา” ซึ่งจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่สังเกตุว่าลูกมีปัญหาดังกล่าวได้โดยสังเกตว่า มีอาการแสบตา ขยี้ตา หรี่ตามอง เนื่องจากเด็กมักจะไม่ได้พูดถึงอาการระคายเคืองเล็กน้อยที่เกิดขึ้น เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ บางครั้งเด็กอาจมีโรคทางตาอยู่เดิม หรือสายตาที่ผิดปกติ อันเนื่องมาจากผลกระทบจาก PM 2.5 หากเป็นตั้งแต่อายุน้อยจนอาจทำให้มีภาวะตาขี้เกียจ เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจนำไปสู่อาการตาเข และอาจเป็น โรคตาเข ในที่สุด

ซึ่งเป็นโรคตาในเด็กที่พบได้บ่อยในปัจจุบันที่สามารถเกิดได้ในเด็กที่คลอดออกมาปกติดี ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ ไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ แต่การควบคุมทางระบบประสาทมีความผิดปกติทำให้ตามีปัญหาเข้าหรือเขออกได้ นอกจากนั้นหากเด็กมีปัญหาเรื่องการมองเห็น จอประสาทตามีปัญหา หรือ มีต้อกระจกตั้งแต่แรกเกิดก็อาจทำให้เกิดภาวะโรคตาเขขึ้นได้ และหากพบประวัติทางพันธุกรรมคนในครอบครัวเป็นโรคตาเข, คลอดก่อนกำหนด, มีโรคทางระบบประสาท พัฒนาการล่าช้า เด็ก ๆ กลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสเป็นโรคตาเขมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ 

 

 

สาเหตุอื่น ๆ นอกจากที่คุณหมอได้ระบุมานี้แล้วยังมีอีก 4-5 อย่างคือ...ความบกพร่องในระบบความสมดุลของการใช้ดวงตาทั้งสองข้าง...กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต เนื่องจากกล้ามเนื้อตาหดตัวปกติ หรืออาจเกิดจากเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติ...มีภาวะสายตาผิดปกติ เช่นสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง...มีโรคภายในลูกตา ทำให้ตาข้างนั้นเห็นไม่ชัด เช่น เป็นมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก หรือเป็นต้อกระจก โดยในเด็กเล็กมักจะเกิดตาเขเข้าใน...อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถป้องกันและตรวจให้ทราบได้แต่เนิ่น ๆ ด้วยการพาเด็กไปรับการตรวจตาจากจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะสายเกินแก้ ซึ่งหากมีลูกน้อยและสงสัยว่าลูกอาจเป็นโรคตาขี้เกียจสามารถพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา

 

 

“เทคโนโลยีวัดสายตาในเด็กอัตโนมัติแบบสองตา” ซึ่งสามารถวัดสายตาในเด็กอัตโนมัติแบบพร้อมกันสองตาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เหมาะกับระดับความสูงของเด็กสามารถตรวจวัดสายตาและคัดกรองความผิดปกติได้ภายใน 1 นาที ช่วยให้จักษุแพทย์สามารถทำการตรวจวัดสายตาในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจักษุแพทย์สามารถทำการรักษาหากพบความผิดปกติพร้อมทั้งให้คำแนะนำตามอาการเพื่อช่วยให้การมองเห็นของลูกน้อยกลับมาเป็นปกติ และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่เด็กในระยะยาวไม่ว่าจะเป็นกรณี...ตาเขหลอก...ตาเขเข้าใน...ตาเขออก...ซึ่งมีวิธีรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของโรค โดยที่ผู้ป่วยบางรายสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่บางชนิดจะรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น หรือในบางกรณีก็อาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้การรักษาด้วยการผ่าตัดสามารถทำโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา ทำให้ตาตรง และให้ผลดีทางด้านการทำงานของตาด้วย ในกรณีที่เป็นโรคตาเขตั้งแต่เด็กและถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจนถึงวัยผู้ใหญ่นั้น การผ่าตัดจะช่วยให้ทำให้ตาตรงขึ้น แต่อาจจะไม่ช่วยในเรื่องของความชัดเจนในการมองเห็น หากมีภาวะตาขี้เกียจที่ไม่ได้รับการแก้ไข

 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  แผนกตา โทร 052 004 699 ต่อ 1400