โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม chiangmai ram hospital
ENG
ไทย
ENG
ไทย
Toggle navigation
หน้าแรก
(current)
ข่าวสาร
(current)
แพทย์
ค้นหาแพทย์
นัดแพทย์
บริการสำหรับผู้ป่วย
มีเดีย
วารสาร
รายการ TV
บทความสุขภาพ
INFOGRAPHIC
การรักษา
ศูนย์เฉพาะทาง
แผนก
เชียงใหม่ ราม เฮลท์ แอปพลิเคชัน
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องพักผู้ป่วยใน
บริการอื่นๆ
แพ็กเกจ
แพ็คเกจและโปรโมชั่น
แพ็คเกจคลอด
บริการซื้อแพ็คเกจออนไลน์
เกี่ยวกับเรา
(current)
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
สมัครงาน
Customer Concerns
ค้นหาแพทย์
นัดแพทย์
มีเดีย
วารสาร
รายการ TV
บทความสุขภาพ
INFOGRAPHIC
การรักษา
ศูนย์เฉพาะทาง
แผนก
เชียงใหม่ ราม เฮลท์ แอปพลิเคชัน
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องพักผู้ป่วยใน
บริการอื่นๆ
แพ็คเกจและโปรโมชั่น
แพ็คเกจคลอด
บริการซื้อแพ็คเกจออนไลน์
ติดต่อเรา
สมัครงาน
Customer Concerns
หน้าแรก
มีเดีย
บทความสุขภาพ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา
November 18 / 2022
“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา”
ส่วนใหญ่แล้วจะหมายถึง การหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจด้านล่างซ้าย ซึ่งมีหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งมักจะมีสาเหตุเกิดจาก
โรคความดันโลหิตสูงกว่า 90%
โดยผู้ป่วยอาจไม่มีอาการบ่งบอก หรือ ไม่ได้สนใจที่จะรักษา ทำให้เกิดความดันในหลอดเลือดแดงสูงขึ้น ส่งผลให้หัวใจห้องล่างซ้ายพองโต จนอาจนำมาสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด
นอกจากนี้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ยังเป็นโรคหัวใจชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุด โดยโรคนี้ไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติใดๆ หากมีอาการก็มักจะเป็นอาการจากโรคที่เป็นต้นเหตุ เช่น หากสาเหตุเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง อาการที่เกิดขึ้นมักจะเป็นอาการปวดศรีษะ มึนงง เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการสอบถามอาการอย่างละเอียดก่อนจะสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างชัดเจน
ในการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา จะเป็นการรักษาตามอาการของโรคที่เกิดขึ้น เช่น หากเกิดอาการเนื่องจากสาเหตุของความดันโลหิตสูง จะรักษาโดยการควบคุมอาหารเค็มควบคู่ไปกับการให้ยาลดความดัน ทั้งนี้การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา อาจไม่สามารถทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางลง แต่จะเป็นการควบคุมไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการหัวใจโต และเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนอาจถึงแก่ชีวิตได้
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหากไม่อยากเกิดความเสี่ยงต่ออันตรายของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาอีกอย่างหนึ่ง คือ ควรงดสูบบุหรี่ เพื่อเป็นการรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา อาจส่งผลให้เกิดภาวะดังต่อไปนี้
Sudden Death
ซึ่งเกิดมาจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุมาจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นนักกีฬาหรือออกกำลังกายอย่างหนัก ดังนั้นจึงควรมีการตรวจสอบให้ละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดเป็นอันตรายก่อนการแข่งขันที่ต้องทำให้หัวใจเต้นแรงและเร็ว
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)
ผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา มักจะมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ อีกทั้งยังมีอาการของความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย อาจมีอาการแน่นหน้าอกขึ้นมาได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุไปสู่อาการของภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก (Atrial fibrillation)
เป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา เนื่องจากมีการเกิดแรงดันที่หัวใจห้องบนมากขึ้น สืบเนื่องตามมาจากแรงดันของหัวใจห้องล่างที่เพิ่มขึ้นจากผลของโรคนี้ ทำให้หัวใจห้องบนเกิดการขยายและทำงานผิดปกติ ส่งผลให้โลหิตเข้าสู่หัวใจห้องล่างซ้ายลดลง เกิดภาวะของความผิดปกติของหัวใจมากขึ้นไปอีก
“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา
”อาจไม่มีอาการของโรคที่ชัดเจน แต่เป็นโรคที่พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ และมีอาการของโรคที่หลากหลาย และส่งผลถึงชีวิต เช่น การเสียชีวิตฉับพลัน หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตอาการ หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจร่างกายเพื่อตรวจเช็คความผิดปกติของหัวใจได้แต่เนิ่นๆ ซึ่งโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม มีโปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ พร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย สะดวกในการตรวจและไม่เจ็บ เพื่อช่วยวางแผนการรักษาได้ทันท่วงที
สามารถติดต่อได้ที่แผนกโรคเฉพาะทาง โทร.052-004699 ต่อ 4000,4098
แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ >>
https://www.chiangmairam.com/readpackage/76