10 สัญญาณเตือนว่า...โรคหัวใจถามหา
October 31 / 2022

 

 

โรคหัวใจ  ถือเป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตคนไปเป็นจำนวนมาก  และมักจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันแบบไม่ให้ตั้งตัวก่อน  แต่จริงๆแล้วโรคหัวใจมักจะมีอาการบางอย่างที่เป็นการแจ้งเหตุเราในช่วงเวลาก่อนเกิดอาการหัวใจวายฉับพลันเป็นเวลาหลายสัปดาห์  ตามที่งานวิจัยของสถาบัน National Institutes of Health (NIH)  ของสหรัฐอเมริกา  พบว่า 95% ของผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจวายมักจะมีสัญญาณบอกเหตุเกิดขึ้นก่อนเป็นเวลาหลายสัปดาห์  หากเราหมั่นสังเกตอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับสุขภาพของเรา อาจเป็นการเตือนภัยก่อนที่จะเกิดเหตุร้ายขึ้นได้  ซึ่งได้แก่อาการดังต่อไปนี้

 

1.  อาการอยากอาเจียน  คลื่นไส้  อาหารไม่ย่อย   หรืออาการทางช่องท้อง เช่น การปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ  และ ไม่ได้เกิดจากไวรัสลงกระเพาะ หรืออาหารเป็นพิษ อาจเป็นอาการผิดปกติของผู้ที่อาจป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้

2.  ปวดกราม หู คอ หรือไหล่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจส่วนใหญ่มักมีอาการปวดบริเวณอก บ่า หรือที่ไหล่ขึ้นมาได้  อาจมีอาการอึดอัด เจ็บหน้าอก 

3.  อาการเกี่ยวกับทางเพศที่ผิดปกติ เช่น อวัยวะเพศไม่แข็งตัว, ไม่สามารถประกอบกิจการทางเพศทางปกติ

4.  เหนื่อย อ่อนล้า ไม่มีแรงผิดปกติ  โดยไม่มีอาการแบบนี้มาก่อน  หรือไม่มีสาเหตุ 

5.  เวียนหัว และ หายใจไม่สะดวก เป็นสาเหตุให้หัวใจไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงได้เพียงพอ และออกซิเจนไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้  จึงอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว และ หายใจไม่สะดวก

6.  ปวดขา หรือ ขาบวม เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่  จะทำให้เลือดหรือน้ำในร่างกายไม่สามารถระบายได้อย่างเป็นปกติ  ทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมน้ำ  และมักจะเกิดขึ้นในบริเวณเท้า ข้อเท้า และขา  เนื่องจากเป็นส่วนที่อยู่ไกลจากหัวใจ  มีเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ  จึงทำให้อาจมีอาการของหลอดเลือดอุดตัน 

7.  อาการคล้ายจะเป็นไข้หวัด จะมาพร้อมกับอาการเหงื่อออก ปวดหัว อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว และมีอาการคล้ายกับเป็นไข้  แม้อาการดังกล่าวอาจไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากโรคหัวใจ  แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากอาการของโรคหัวใจได้เช่นกัน  โดยเฉพาะหากมีอาการไอต่อเนื่องที่ไม่หายไปได้เอง  ก็อาจเกิดได้จากการที่ปอดไม่มีการไหลเวียนของเลือดที่ดี

8.  นอนไม่หลับ กระวนกระวาย หลับๆตื่นๆ

9.  หัวใจและชีพจรเต้นเร็ว  คล้ายกำลังเดินขึ้นภูเขาหรือทำงานหนัก  หากหัวใจเต้นเร็วมากอาจมีอาการเวียนหัว  หรืออ่อนล้าตามมา

10.  ไม่อยู่กับร่องกับรอย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป  อาจมีอาการแทรกซ้อนหลายอย่าง  ทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับร่างกาย  เช่น จากคนที่แข็งแรง กระฉับกระเฉง กลายเป็นคนที่อ่อนแอ เหนื่อยง่าย  หรือมีอาการคิดอ่านไม่คล่อง ไม่เป็นตัวของตัวเอง  ก็อาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจได้เช่นกัน

 

ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการและไม่ประมาทเมื่อพบว่ามีสัญญาณของอาการต่าง ๆ ที่อาจเป็นความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนทำการรักษา โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจ ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ เทคโนโลยีอันทันสมัยมาตรฐานระดับสากล

 


ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่  แผนกโรคเฉพาะทาง  โทร. 052 004699 ต่อ 4000

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ คลิ๊ก >> https://bit.ly/3WlgFQa