6 วิธีหนีไกลจากอาการสมองล้า
October 31 / 2022

 

 

ปัญหาในเรื่องของความจำหรือแม้แต่การคิด  รู้สึกมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ  หรือไม่สามารถทำอะไรพร้อม ๆ กันหลาย ๆ อย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนที่เคย  อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจกำลังจะเป็นผู้ป่วยใน “ภาวะสมองล้า” (Brain Fog)  ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของสมอง

 

ภาวะสมองล้า คืออะไร

                ภาวะสมองล้าเป็นอาการที่มีสาเหตุจาการทำงานหนักเกินไปของสมองเป็นเวลานาน  ส่งผลต่อสารเคมีที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์ระบบประสาททำงานไม่เต็มที่  ทำให้สมองมีความเหนื่อยล้า  เนื่องมาจากความเครียด  ส่งผลต่อความจำและความคิดให้ลดประสิทธิภาพลงไป  คล้ายกับมีหมอกปกคลุมในสมอง  จึงเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Brain Fog”  ซึ่งอาการสมองล้าไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง  แต่อาจส่งผลไปสู่ระบบของสมอง รวมไปถึงต่อความคิดและประสิทธิภาพการใช้ชีวิต

 

สาเหตุของภาวะสมองล้า

                ภาวะสมองล้าเกิดขึ้นมาจาก ความเครียด  การพักผ่อนไม่เพียงพอ  ขาดการออกกำลังกาย  รวมไปถึงอาการจากระบบฮอร์โมนที่ไม่สมดุล  โรคเรื้อรัง และอาจเกิดได้จากการได้รับสารพิษในร่างกายก็ได้  นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการขาดสารอาหารบางประเภท เช่น วิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน หรือสารต้านอนุมูลอิสระจากผักและผลไม้ด้วย

 

6 วิธีหนีให้ไกลจากภาวะสมองล้า

                1. รักษาจิตใจให้มีความรู้สึกที่ดี  ผ่อนคลาย  ไม่เครียด  ควบคุมอารมณ์ให้สงบ  ไม่ให้สมองเกิดอาการเหนื่อยล้าจนเกินไป

                2.  ปลุกพลังจากประสาทสัมผัสให้รับรู้ในสิ่งที่ดี  สร้างความสบายใจโดยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี  โดยเฉพาะการอยู่กับธรรมชาติที่มีความสงบ สดชื่น

                3.  จัดการกับอารมณ์ของตัวเองให้สมดุล  ขจัดอาการโกรธ  ไม่สบายใจ  ไม่ให้เกิดความรู้สึกเครียด  หรือมีความทุกข์  ขัดแย้งทางอารมณ์เกิดขึ้น

                4.  การดำเนินชีวิตแบบ Slow-Small-Simple

                                -  Slow  หมายถึงการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องเร่งรีบ  แต่ให้มีการเตรียมการให้ดี  เช่น  การไปถึงที่นัดหมายก่อนเวลา  ไม่เร่งจนเกิดอาการเครียด

                                -  Small  หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนเองมี  ไม่คาดหวังในสิ่งที่มากเกินไปจนเกิดความไม่สบายใจขึ้นมา

                                -  Simple  หมายถึงการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย  สบายใจ

                5.  สร้างพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความสงบ มีสมาธิ  ผ่อนคลาย  ไม่เร่งรีบ  ดื่มน้ำให้เพียงพอ  รวมไปถึงการรักษาความสมดุลของร่างกาย  ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นการส่งเสริมระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (ประสาทพัก)

                6.  ดูแลพฤติกรรมการนอนให้ดีและมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการนอนหลับถือได้ว่าเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด  ดังนั้นก่อนการนอนควรดูแลพฤติกรรมให้ดี  ควรงดกิจกรรมที่ทำให้สมองไม่เข้าสู่ภาวะสงบ เช่น การเล่นโทรศัพท์มือถือ การดูโทรทัศน์ งดการอ่านหนังสือที่มีความตื่นเต้น เลี่ยงมื้อดึก เป็นต้น  นอกจากนี้ควรนอนหลับให้สนิท  พักผ่อนให้เพียงพอ  เพื่อเป็นการชาร์จแบตเตอรี่ให้สมองได้ฟื้นพลัง

ถึงแม้ว่าอาการสมองล้าอาจไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง  แต่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต  หากมีอาการสมองล้าเกิดขึ้นบ่อย  ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการปรึกษาและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม  โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม มีแพทย์เฉพาะทางด้านสมอง คอยให้คำปรึกษา เพื่อรักษาสุขภาพสมองของให้ยาวนาน


สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ แผนกโรคเฉพาะทาง รพ.เชียงใหม่ ราม โทร : 052-004699 ต่อ 4000

แพ็กเกจตรวจสุขภาพเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง คลิ๊ก>> https://www.chiangmairam.com/readpackage/75