"อยากสูงต้องทำไง ?"
ปัจจุบันปัญหาการเจริญเติบโตที่พบบ่อยในเด็กมีทั้งภาวะตัวเตี้ย มีการเจริญเติบโตช้า โดยพบความชุกของภาวะโรคเตี้ยมีความเฉลี่ยที่ร้อยละ 1-5 หรือในเด็ก 100 คนจะพบเด็กที่เตี้ยอยู่ในเกณฑ์ 1-5 คน ทั้งนี้ภาวะเด็กเตี้ยที่มีปัญหาด้านการเจริญเติบโตหมายถึงเด็กที่เจริญเติบ
โตช้ากว่าอัตราปกติทั้งน้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีจะใช้เกณฑ์ประเมินความสูงขององค์การอนามัยโลก และสำหรับเด็กอายุมากกว่า 5 ปีจะใช้เกณฑ์ประเมินความสูงของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
อัตราการเจริญเติบโตปกติในเด็ก
- แรกเกิด ถึง 1 ปี อัตราการเจริญเติบโต 25 ซม./ปี
- อายุ 1 ถึง 2 ปืี อัตราการเจริญเติบโต 12 ซม./ปี
อัตราการเจริญเติบโต 8 ซม./ปี - อายุ 2 ถึง 3 ปืี
- อายุ 3 ถึง วัยหนุ่มสาว อัตราการเจริญเติบโต 4-7 ซม./ปี
วัยหนุ่มสาว
- เด็กหญิงมีอัตราการเจริญเติบโต 7-9 ชม./ปี
- เด็กชายมีอัตราการเจริญเติบโต 8-10 ซม./ปี
ผู้ปกครองควรสังเกตการเติบโตอย่างไคชิด หากพบว่าความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรืออัตราการเจริญเติบโตน้อยกกว่าเกณฑ์ดังกล่าว หรือความสูงของเด็กแตกต่างจากความสูงตามกรรมพันธุ์ของพ่อแม่ หรือสังเกตเห็นว่าเด็กมีสัดส่วนผิดปกติ เช่น แขนขา สั้นกว่าปกติ
หรือลำตัวสั้นกว่าปกติ ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ เพื่อแก้ไขและรักษาให้เด็กสูงขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูง ประกอบไปด้วย
1.พันธุกรรมหรือยีน เด็กที่มีพ่อแม่สูง ลูกมักจะสูง แต่เนื่องจากลูกแต่ละคนได้รับการถ่ายทอดยีนจากพ่อแม้ไม่เหมือนกัน ดังนั้น พ่อแม่เดียวกัน
มีลูกหลายคน ลูกก็อาจสูงไม่เท่ากัน
2.ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตในวัยเด็ก คือฮอร์โมนไทรอยด์และฮอร์โมนเจริญเติบโต (Growth Hormone) ซึ่งทำให้มีการขยายตัวของ
กระดูกเป็นผลให้กระดูกยาวขึ้น
3.ฮอร์โมนเพศ ในช่วงเข้าวันหนุ่มสาวเด็กจะมีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเพศกระตุ้นการหลั่งเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนการเจริญเติบโต
ทำให้มีการพัฒนาของกระดูก และเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาว สักระยะหนึ่งแล้ว ฮอร์โมนเพศจะทำให้กระดูกปิด และหยุดการเจริญเติบโต
4.การรับประทานอาหาร มีส่วนสำคัญมากในการเจริญเติบโตของร่างกายซึ่งรวมถึงกระดูก การขาดพลังงาน โปรตื่น และแร่ธาตุต่างๆ ทำให้
การเจริญเติบโตช้า สารอาหารหลักที่มีผลต่อการสร้างกระดูก ได้แก่แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี
5.การออกกำลังกายที่เหมาะสม ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต แต่การออกกำลังกายในเด็กที่มากและหนักเกินไปจะกดการเจริญเติบโตทำให้ตัวเล็กแกรน การออกกำลังกายชนิดลงน้ำหนักเช่น การ กระโดด เล่นบาสเก็ตบอล ช่วยให้มวลกระตกเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีข้อมูล
ยืนยันว่าจะทำให้เด็กตัวสูงมากกว่าการออกกำลังกายชนิดอื่น
6.การนอนหลับ การหลับสนิทมีความเกี่ยวข้องกับการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตจึงแนะนำให้เด็กนอนหลับให้เพียงพอเพื่อการเจริญเติบโต
ที่ดี
การรักษาภาวะเตี้ย
การรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone)เท่านั้น ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวไม่มีชนิดรับประทาน หรือแบบอื่นๆตามที่มีการโฆษณา ส่วนผลิตภัณฑ์ที่กล่าวว่ามีฮอร์โมนการเจริญเติบโต เช่น น้ำนมเหลืองโคลอสตรุ้ม จะได้เรื่องของสารอาหารมากกว่าที่จะเป็น
ฮอร์โมนการกระตุ้นการเจริญเติบโต สำหรับอาหารเสริมที่มีการโฆษณาว่าสามารถกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน ในปัจจุบันไม่มีงานวิจัยทางการ แพทย์ที่ยืนยันว่าอาหารเสริมดังหล่าวทำให้ส่วนสูงเพิ่มขึ้น
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ สังเกตเห็นความผิดปกติหรือมีความสงสัยเกี่ยวกับฮอร์โมนการเจริญเติบโต สามารถปรึกษากุมารแพทย์เฉพาะทาง ด้านฮอร์โมนได้ที่ คลินิกความสูง แผนกผู้ป่วยนอกเด็ก โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม เปิดบริการทุกวันเสาร์ เวลา 9.00-17.00 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 053-920345