สาเหตุที่เด็กโตช้า ตัวเตี้ย ส่วนสูงไม่ถึงเกณฑ์
April 10 / 2025

ส่วนสูงเด็ก

ช่วงวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการเจริญเติบโต ซึ่งหากเด็กโตช้า ตัวเตี้ย หรือส่วนสูงไม่ถึงเกณฑ์ อาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า ตั้งแต่พันธุกรรม โภชนาการ ไปจนถึงโกรทฮอร์โมน บทความนี้จะพาทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า ตัวเตี้ย และวิธีส่งเสริมให้ลูกเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เด็กตัวเตี้ย

1. พันธุกรรม

หากพ่อแม่มีรูปร่างตัวเล็กหรือตัวเตี้ย โอกาสที่ลูกจะมีภาวะตัวเตี้ยก็มากขึ้น เนื่องจากพันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่กำหนดส่วนสูงของเด็ก ยังไงก็ตามพันธุกรรมไม่ได้เป็นตัวตัดสินทั้งหมด ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยให้เด็กสามารถเติบโต สูงได้ดีขึ้นเช่น โภชนาการแต่ละวัน การออกกำลังกาย การนอนหลับผักผ่อน

2. ขาดสารอาหาร

หากเด็กเล็กไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ อาจส่งผลให้เด็กโตช้า ตัวเตี้ย มีส่วนสูงไม่ถึงเกณฑ์ที่ควรจะเป็น

 

สารอาหารสำคัญที่ทำให้เด็กตัวสูงได้ดี
 

  • แคลเซียม พบมากใน กุ้ง ผักใบเขียว นม โยเกิร์ต ชีส

  • วิตามิน D พบมากใน ปลาแซลมอล ปลาแมคเคอเรล ไข่แดง นม

  • โปรตีน พบมากใน เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว เต้าหู้

  • สังกะสี พบมากใน หอยนางรม เนื้อหมู เนื้อวัว ข้าวสาลี

3. ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน

 

โกรทฮอร์โมนถูกผิกจากต่อมใต้สมอง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตของร่างกาย วึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนากล้ามเนื้อและกระดูก

 

สาเหตุที่ทำให้ต่อมใต้สมองเกิดความผิดปกติ

 

  • ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เด็กบางคนเกิดมาพร้อมกับภาวะต่อมใต้สมองเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์

  • ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ

  • มีเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมอง

  • การได้รับฉายรังสีที่ศีรษะ สำหรับเด็กที่ทำการรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีที่ศีรษะ อาจมีผลข้างเคียงต่อการทำงานของต่อมใต้สมอง


 

4. การนอนหลับไม่เพียงพอ

 

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กเนื่องจาก โกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมามากที่สุดในช่วงที่นอนหลับสนิทโดยเวลาประมาณ 22.00 - 02.00 น ฉะนั้นแล้วหากเด็กที่มีพฤติกรรมชอบนอนดึก นอนไม่เพียงพออาจส่งผลให้ร่างกายเด็กผลิตโกรทฮอร์โมนได้ลดลง ทำให้เด็กโตช้า ตัวเตี้ย

 

5. ขาดการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมสำคัญที่ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี โดยสาเหตุที่การออกำลังกายจะทำให้เด็กตังสูงมีดังนี้

 

  • กระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน

  • เสริมสร้างความหนาแน่นของกระดูก และช่วยให้กระดูกขยายตัวได้เหมาะสมในแต่ละวัย

  • พัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เคล็ดลับดูแลพัฒนาส่วนสูงเด็กให้สมวัย

 

หากพ่อแม่ท่านใดต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ แผนกผู้ป่วยนอกเด็ก ศูนย์แพทย์เฉพาะทางแม่ และเด็กโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม โทร. 053-920300 ต่อ 5148, 5149 เวลา 08.00 - 20.00