อาการใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หลายคนที่เกิดอาการแบบนี้กับตัวเองอาจปล่อยผ่านราวกับว่าเหมือนเป็นเรื่องปกติ เล็กๆ น้อยๆ แต่รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจที่กำลังทำร้ายร่างกายทีละน้อย หากปล่อยปละละเลยไม่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจส่งผลกระทบการใช้ชีวิตในระยะยาว
โรคหัวใจเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากในประเทศไทยจำนวนผู้ป่วยสะสมด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 2.5 แสนราย และเสียชีวิต ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 4 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 5 คน (ขอบคุณข้อมูลจาก กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค)
บทความนี้จะพาคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 10 อาการเตือนโรคหัวใจที่จะเกิดขึ้น รวมถึงวิธีป้องกันและการดูแลตัวเองให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคหัวใจกับตัวคุณเอง
อาการโรคหัวใจมักจะเริ่มอาการที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือรู้สึกเจ็บหน้าอกนิดๆ หน่อยๆ และก็หายไปเองเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ถ้าหากปล่อยไว้ไปนาน ๆ ไม่สังเกตอาการแบบใกล้ชิด อาจจะกลายเป็นโรคหัวใจที่พร้อมจะคอยทำลายสุขภาพของคุณได้ทันที
รู้จัก 10 อาการเตือนที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจ
การที่มีอาการาเจียน คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย หรือ ปวดท้องโดยไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด หากเกิดอาการเหล่านี้กับตัวคุณควรรีบไปพบแพทย์โดนด่วนเนื่องจากเสี่ยงจะเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
คนที่เกิดอาการปวดคอ ปวดไหล่ บริเวณข้างซ้าย และ อาจจะปวดร้าวไปยังกรามหรือขากรรไกร ให้เช็กร่างกายตัวเองให้ดีๆ เพราะเป็นสัญญาณของการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเป็นๆ หายๆ จนคิดว่าเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อปกติ ถ้าหากรู้สึกปวดร้าวจากกรามมาถึงหู คอ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ผู้ชายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศส่วนมากมักจะพบมากกับผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มักจะมีโรคต่าง ๆ เข้ามาด้วยเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหัวใจและหลอดเลือดตีบ
หลาย ๆ คนอาจจะเกิดความสงสัยว่าทำไมภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศถึงเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจได้ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยต่าง ๆ ของร่างกาย การแข็งตัวของอวัยวะเพศชายนั้นเกิดจากหลอดเลือดที่เข้าไปเลี้ยง เมื่อมีอาการกระตุ้นทางเพศขึ้น หลอดเลือดจะขยายตัวทำให้ปริมาณเลือดเข้ามาสู่อวัยวะเพศมากขึ้นทำให้อวัยวะเพศชายเกิดการแข็งตัว
แต่ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดที่เข้าไปเลี้ยงอวัยวะเพศชายก็มีโอกาสตีบไปด้วยซึ่งเป็นข้อสังเกตว่าทำไมคนที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
อาการเหนื่อยง่าย ไม่มีแรง รู้สึกล้า อ่อนเพลีย หรือ อาการอาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติ อาการเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว เนื่องจากเกิดความผิดปกติบริเวณลิ้นหัวใจที่ปิดไม่สนิท ทำให้เลือดไหลย้อนกลับส่งผลทำให้หัวใจทำงานหนักมากกขึ้นเพื่อให้สูบฉีดเลือดเพียงพอต่อร่างกาย
หากเริ่มมีอาการหายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ รู้สึกเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และไม่สามารถนอนราบได้เพราะจะทำให้รู้สึกแน่นหน้าอก อาจเป็นไปได้ว่ากำลังเกิดโรคภาวะหัวใจโต ควรไปรีบรักษาก่อนจะสายไปหากพบว่ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวคุณอย่ารอให้เกิดอาการหนักไปมากกว่ากว่า ควรที่จะรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
เนื่องจากหัวใจห้องขวาไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจห้องขวาล้มเหลว (Right-sided heart failure) โดยปกติแล้วหัวใจห้องขวาจะทำหน้าที่รับเลือดจากร่างกายเข้าไปยังปอด หากหัวใจห้องขวาทำงานไม่เป็นปกติหรือล้มเหลวจะทำให้น้ำคั่งในช่องท้อง ขา และเท้า ทำให้บริเวณเท้าเกิดอาการบวม
มักจะมาพร้อมกับอาการเหงื่ออก ปวดหัว อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว เหมือนกับคนเป็นไข้หวัดปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าจะเกิดจากโรคหัวใจโดยตรง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดโรคหัวใจได้เหมือนกัน เนื่องจากหากมีอาการไอเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ที่ไม่สามารถหายได้ด้วยตัวเองแล้ว อาจะเกิดได้จากปิดไม่สามารถไหลเวียนเลือดได้เป็นอย่างดี
แม้ว่าอาการนอนไม่หลับ รู้สึกกระวนกระวาย หลับๆ ตื่นๆ จะเป็นการวินิจฉัยได้ยากว่าจะเกิดโรคหัวใจหรือไม่ แต่สำหรับใครที่เป็นโรคนอนไม่หลับอยู่แล้ว แต่หากมีอาการนอนไม่หลับ รู้สึกกระวนกระวายอย่างไม่ทราบสาเหตุ ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เป็นการดีที่สุด
อาการหัวใจเต้นเร็วที่นับได้ว่าเป็นเรื่องปกติคือจะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ยกของหนัก การวิ่ง การเดินหรือการออกกำลังกายอาการหัวใจเต้นเร็วแบบนี้จะหายเองเมื่อมีการนั่งพักผ่อน แต่อาการหัวใจเต้นเร็วที่ผิดปกติ เช่น ใจสั่นแบบทันทีทันใด ใจหวิว รู้สึกมึนงง หายใจไม่เต็มอิ่ม มีอาการแน่นหน้าอก บางครั้งอาจรุนแรงไปถึงหัวใจเต้นเร็วและนานหลายนาที หรือ เกิดอาการเป็นลม หน้ามืด หมดสติ
หากเกิดอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที
อาการของโรคหัวใจในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป อาจมีอาการแทรกซ้อนหลายอย่างที่ทำให้การวินิจฉัยเป็นเรื่องยาก แต่สำหรับคนที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรือคนใกล้ชิด หากสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยแข็งแรง กระฉับกระเฉง มาเป็นคนลืมง่าย คิดไม่ค่อยออก เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกไม่เหมือนตัวเอง อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจก็เป็นได้
โรคหัวใจเป็นโรคที่ใคร ๆ หลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบข้างมากที่สุด สิ่งที่น่ากลัวของโรคหัวใจคืออาการมักจะเกิดขึ้นแบบฉับพลัน แถบจะไม่ค่อยแสดงอาการเตือนอย่างชัดเจนให้เราได้ทราบล่วงหน้า และ แม้ว่าอาการที่มีความเสี่ยงของโรคหัวใจจะแสดงออกมาแบบเป็นๆ หายๆ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรที่จะมองข้าม
คำแนะนำศูนย์บอลลูนหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ หรือ โรคร้ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตัวคุณเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพหัวใจ เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคหัวใจกับตัวคุณเอง