หลอดเลือดสมองโป่งพอง ไม่มีอาการแต่อันตรายถึงชีวิต
July 09 / 2016

 

     นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคประสาท และหลอดเลือดสมองเตือนภัยเงียบเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เมื่อก่อนโรคนี้มักเป็นในคนอายุมาก และมีปัจจัยเสี่ยงเสริมกระตุ้นให้เกิดโรค เช่น ในฤดูหนาว ความเย็นจะกระตุ้นให้เส้นเลือดหดตัว อาจทำให้เส้นเลือดที่โป่งพองแตกได้ แต่ในปัจจุบันโรคนี้เกิดในคนที่่อายุน้อยลง ในช่วงนี้ผมได้ดูแลคนไข้ในกลุ่มเหล่านี้ มาโรงพยาบาลเยอะขึ้น เพราะโรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการออกมา รู้ตัวอีกทีก็แตกเสียแล้ว ในตอนนั้นการรักษาและการฟื้นฟูใช้เวลานาน ดังนั้นถ้ารู้ตัวก่อนเราสามารถป้องกันอันตราย และเอาชีวิตรอดจากอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ และถึงแม้จะมาโรงพยาบาลเร็วแต่อาการแย่ไปมากโอกาสกลับมาเป็นปกติก็ยังยาก คนไข้เส้นเลือดสมองโป่งพองมักจะไม่รู้เลยว่าเป็นโรคนี้จะรู้ก็ต่อเมื่อเส้นเลือดโป่งพองแตกแล้ว อาการที่คนไข้มาโรงพยาบาลมักจะมี 4 กลุ่ม

 

 1. เสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล
 2. มาแบบโคม่า
 3. มาแบบปวดหัวรุนแรง
 4. หรือมาแบบพบโดยบังเอิญ เช่น มาด้วยอุบัติเหตุแล้วเอกซ์เรย์พบ เป็นต้น

 

     หากผู้ป่วยที่มาแบบอาการโคม่าเราทำการรักษาได้สำเร็จ แต่ผู้ป่วยก็ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาและฟื้นฟูนานพอสมควร หรือบางรายอาจพิการหรือเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นถ้าตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดเสียต้นๆและรักษาโดยไม่ต้องรอให้หลอดเลือดที่โป่งพองแตกแล้วค่อยมาโรงพยาบาล โรคหลอดเลือดสมองเป็นความผิดปกติของผนังหลอดเลือดแดง ที่มีมาแต่กำเนิด มักเกิดในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ และโรคระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ       ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การบาดเจ็บที่ศีรษะ ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อ เนื้องอก ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว และการสูบบุหรี่ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดโป่งพองได้ โรคหลอดเลือดโป่งพองสามารถเกิดได้กันทุกคนในทุกช่วงวัย โดยจะเกิดกับผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คนที่มีความเสี่ยงด้านพันธุ์กรรมก็จะมีความเสี่ยงเกิดโรคนี้มากกว่าผู้อื่น 

 

     ผมได้ทำการรักษาด้วยวิธีการใส่ขดลวดเพื่ออุดเส้นเลือดที่โป่งและวางท่อระบายน้ำเลี้ยงสมองเพื่อลดแรงดันในสมอง แต่เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มาโรงพยาบาลด้วยอาการแบบโคม่าดังที่กล่าวไปแล้ว ขณะนี้ยังต้องรักษาและฟื้นฟูในระยะยาว

 

     วิธีที่ดีที่สุด คือ การสืบค้นเส้นเลือดสมองโป่งพองโดยการวินิจฉัยด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ความเร็วสูง ซึ่งเป็นการตรวจดูเส้นเลือดในสมองว่ามีการโป่งพองหรือไม่


 

"ผมเคยดูแลเคสผู้ป่วยรายหนึ่ง อายุไม่มาก 48 ปี และเป็นผู้บริหารระดับสูง 

ขณะนั่งกินข้าวเกิดอาการปวดหัวรุนแรง และมีอาการโคม่า มาถึงโรงพยาบาล

ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพราะไม่รู้สึกตัว และมีเลือดออกในสมองเยอะมาก"

 

นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า "อย่าปล่อยให้สมองมีระเบิดเวลา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเอง ควรตรวจดูเส้นเลือดสมองเพื่อความผิดปกติ"